กองป้องกันการบาดเจ็บ
Responsive image

[FP] Intervention


Fall Interventions: มาตรการป้องกันพลัดตกหกล้ม

"รู้ ปรับ ขยับเพิ่ม"

การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ การป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้

1. รู้: รู้ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน
  • รู้สมรรถภาพของตัวเอง (ปัจจัยเสี่ยงด้านร่างกาย) เช่น สายตา การทรงตัว การเดิน ด้วยการเข้ารับการประเมินความเสี่ยงที่สถานพยาบาลใกล้บ้านเป็นประจำทุกปี
  • รู้ปัจจัยรอบตัว (ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม) เช่น พื้นลื่น ห้องน้ำไม่มีราวจับ สิ่งกีดขวาง รวมถึงการแต่งกายและเลือกสวมรองเท้าที่ปลอดภัยไม่ทำให้สะดุดและลื่นล้มได้ง่าย

หากพบความเสี่ยงให้ทำการ “ปรับ” ทันที

2. ปรับ: ปรับ แก้ไข ห่างไกลความเสี่ยง
  • ปรับสภาพบ้านให้น่าอยู่และปลอดภัย เช่น ติดราวจับ ใช้แผ่นกันลื่น เลือกสวมรองเท้าที่ไม่ทำให้สะดุดและลื่นได้ง่าย
  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน เช่น ได้รับโปรตีนเพียงพอ
  • ปรึกษาแพทย์หากใช้ยาหลายชนิด เพราะอาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม
  • ใช้ชีวิตแบบ Active มากขึ้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ด้วยการ “ขยับเพิ่ม”
3. ขยับเพิ่ม: ขยับร่างกาย ออกกำลังกาย ฝึกสมดุล
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 15 - 30 นาที เป็นอย่างน้อย
  • ฝึกคาร์ดิโอ (Cardio) เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน
  • ฝึกออกแรงต้าน (Resistance Training) เช่น สควอช (Squat) ยกน้ำหนัก ใช้ยางยืด
  • แต่ละวันฝึกส่วนที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง: วันแรกฝึกสควอช (Squat) และท่าอื่น ๆ ของมัดกล้ามเนื้อส่วนล่าง วันถัดไปฝึกดัมเบล (Dumbbell Curl) และท่าอื่น ๆ ของมัดกล้ามเนื้อส่วนบน โดย ทำท่าละ 15 ครั้ง 3 รอบ (set) และเพิ่มความยากขึ้นในแต่ละสัปดาห์
  • ฝึกการทรงตัว ยืดเหยียดร่างกาย การเคลื่อนไหวผสมผสานกัน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ มีผู้ดูแล มีพื้นรองรับแรงกระแทก มีที่ยึดจับมั่นคงในกรณีเสียการทรงตัว
  • เพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เช่น เดิน ยืน ขยับร่างกายให้มากขึ้น
แหล่งความรู้ในการป้องกันพลัดตกหกล้ม


Fall Prevention Resources: แหล่งข้อมูลป้องกันพลัดตกหกล้ม


คัดกรอง แบบสอบถาม

Infographics

เพิ่มเติม ... สงกรานต์ห่วงใย ผู้สูงวัยปลอดภัยหกล้ม คำกล่าวเนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2568 ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ช่วยเหลือผู้สูงอายุหกล้มอย่างไร ?   รู้หรือไม่ สูงวัยมีโรคประจำตัวเสี่ยงหกล้มมากแค่ไหน ?  อยาก..ล้มยาก ต้องมี..กล้ามแน่น และสมดุลทรงตัวดี!  ปีใหม่นี้ ให้ห้องน้ำปลอดภัยเป็นของขวัญ สูงวัยขยับเพิ่ม เสริมแรงต้าน ห่างไกลความพิการ หนาวนี้ ท่องเที่ยวปลอดภัย ห่างไกลตกหน้าผา ห่างไกลหกล้มในห้องน้ำ เมื่อผู้สูงอายุอยู่บ้านคนเดียว สูงวัยปลอดภัยจากหกล้ม ผ่านโลกดิจิตัล รับมือหน้าฝน สูงวัยห่างไกลหกล้ม สูงวัยหกล้ม รัฐใช้งบเท่าไหร่ สังคมร่วมใส่ใจ สูงวัยห่างไกลล้ม วัยเก๋าทำงาน แรงดี ไม่มีล้ม 13 เมษายน "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" สูงวัยหกล้ม นำส่งอย่างไร ให้ปลอดภัย รู้ความเสี่ยง...เลี่ยงหกล้ม ในเนิร์สซิ่งโฮม แข็งแรงได้...ในวัย 50 ด้วยการออกกำลังกายในน้ำ ขยับเพิ่ม ชะลอ..กล้ามเนื้อหาย ห่างไกลล้ม มัดรวมไอเดียของขวัญปีใหม่ ให้ผู้สูงวัยปลอดภัยจากหกล้ม จะกี่งานบุญก็บ่ยั่น เมื่อรู้ทันป้องกันล้ม 11.11 รู้ ปรับ ขยับเพิ่ม เตือนหกล้ม แอ่วดอยปลอดภัย ห่างไกลตกเขา เตรียมพร้อมผู้สูงวัย ห่างไกลหกล้ม 3 ข้อแนะนำ เพื่อผู้สูงวัย ปลอดภัยจากหกล้ม กลับบ้านสงกรานต์ ส่งมอบความห่วงใยให้ผู้สูงอายุ เดินอย่างมั่นคง ปลอดภัยจากการหกล้ม เก๋าเที่ยวด้วยกัน ปลอดภัยไม่มีล้ม ปีใหม่ เป้าหมายใหม่ พื้นไม่ลื่น สูงวัยปลอดภัยหกล้ม ปรับบ้านให้ผู้สูงวัย ปลอดภัยไม่หกล้ม น้ำลด พื้น(ไม่)ลื่น รู้ปรับ ขยับเพิ่ม กันหกล้ม ลดความพิการ เช็กก่อนเที่ยว ห่างไกลตกเขา ฝนตก มีน้ำขัง ระวังลื่นล้ม  สูงวัยอยู่คนเดียว ขอความช่วยเหลืออย่างไร เมื่อหกล้ม สาเหตุเด่น พลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ 2564 ชุมชนห่วงใย ดูแลผู้สูงวัย ห่างไกลหกล้ม ห้องน้ำผู้สูงวัย ปลอดภัย ใช้บันไดเลื่อนอย่างไร ให้ปลอดภัย สงกรานต์ปีนี้ ดูแลเท้าท่าน ห่างไกลหกล้ม สูงวัย ทำงานดี "ไม่มีล้ม" พิชิตเขา เราปลอดภัย ผู้สูงวัย รู้ความเสี่ยง เลี่ยง “หกล้ม” ปีใหม่ รองเท้าใหม่ แกะรอยหกล้ม ในผู้สูงอายุ ปี 2563 ผู้สูงวัยเดินทางปลอดภัย ไม่พลัดตกจากรถสาธารณะ ป้องกันพลัดตกหกล้ม จากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงในชุมชน  บ้านปลอดภัย ห่างไกลหกล้ม ปักหมุดท่องเที่ยว สายเดินป่า... ระวังตกหน้าผา

สื่อสิ่งพิมพ์

วิดีโอคลิป

พัฒนาศักยภาพเครือข่าย

Social Platform


ข่าวสารอื่นๆ