สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
Responsive image

แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง :Urban Dengue Unit Guideline

     ประเทศไทย มีแนวโน้มประชากรอาศัยอยู่ในเมือง และใช้ชีวิตแบบเมืองเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว มีความสลับซับซ้อนหลากหลายมิติในด้านชีวิต ความเป็นอยู่ ลักษณะที่อยู่อาศัย ความทันสมัยของเทคโนโลยีการสื่อสาร การใช้วัสดุอุปกรณ์เกินความจำเป็น เหลือใช้จัดเก็บไม่เหมาะสมเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ฝนตกนอกฤดูกาล ฤดูฝนยาวนาน ล้วนส่งผลต่อการเพิ่มแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง ซึ่งการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มียุงเป็นพาหะนำโรคในพื้นที่เขตเมืองไม่สามารถดำเนินการควบคุมโดยวิธีเดิมๆได้ การจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมืองมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติงานสาธารณสุขในเขตเมือง เป็นการเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการปฏิบัติงาน

     ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญ และคณะผู้จัดทำแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารและทีมงาน เขตลาดกระบัง เขตทุ่งครุ่ ในการนำร่องรูปแบบ Bangkok Dengue Unit : BDU Model ซึ่งเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานสร้างความปลอดภัย ห่างไกลโรคไข้เลือดออก ต่อไป

ดาวน์โหลดเอกสาร
วารสารออนไลน์อื่นๆ