สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
Responsive image

สธ.และกทม.ร่วมแก้ไขปัญหาบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน

กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ กรุงเทพมหานคร แก้ไขปัญหาบาดเจ็บ เสียชีวิต และพิการ จากการจราจรทางถนน ที่กทม.ครองแชมป์ 6ปี ซ้อน ตั้งเป้าลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนนเหลือครึ่งหนึ่งภายในปี 2563

วันที่ 23 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา กทม.

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เรื่อง “การบูรณาการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตกับการป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน” ร่วมกับ พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมีนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นผุ้กล่าวรายงานว่า สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ได้ร่วมกับ สำนักการ จราจรและขนส่ง สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน พัฒนากลไกการดำเนินงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับเขต ให้เป็นพลังสำคัญเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

...ในงานจัดบูธนิทรรศการ ดังนี้
• การผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เวชศาสตร์การจราจร หรือ Traffic Medicine,
• การริเริ่มสร้างศูนย์ประเมินความพร้อมทางการแพทย์สำหรับผู้ขับขี่สาธารณะที่ครบวงจรร่วมกับกรมขนส่งทางบก Medical Fitness to Drive,
• โครงการต้นแบบ ลาดกระบังโมเดลในการจัดการปัญหาอุบัติเหตุจราจรในระดับพื้นที่
• ชุดข้อมูล การจัดการการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ของกรุงเทพมหานคร

ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ จากกระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร สื่อมวลชน รวม 310 คน

...ดร.สาธิต ปิตุเตชะ กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ละปีประเทศไทยมีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 22,000 คน ใน 15 ปีมี ยอดผู้เสียชีวิตสะสมมากถึง 400,000 คน จัดเป็นลำดับ 9 ของโลก โดยกรุงเทพมหานครมีผู้เสียชีวิตจากการจราจรทางถนนเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ 6 ปีซ้อน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 232,000 ล้านบาท และยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของญาติพี่น้อง ลูก พ่อ แม่ ของผู้เสียชีวิต หรือ ผู้พิการในระยะยาว
กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน พัฒนากลไกการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับเขต (พชข.)แก้ไขปัญหา ป้องกันการบาดเจ็บ เสียชีวิต และพิการ จากการจราจรทางถนน โดยยกระดับข้อมูลจาก3 ฐาน เป็น3ฐานพลัส นำข้อมูลผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตำรวจ และมรณะบัตรจากกระทรวงสาธารณสุขมาบูรณาการ เพิ่มข้อมูลจากสถาบันนิติเวช อีก 7 แห่ง มาวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มเหล้า จุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น ทางโค้ง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ นำไปใช้วางแผนการดำเนินงาน เช่น การตรวจสมรรถนะของผู้ขับขี่รถสาธารณะ โดยการใช้ Fit for Drive ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ตั้งเป้าลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนนเหลือครึ่งหนึ่ง ตามนโยบายรัฐบาลที่ตั้งเป้าลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน 10 ต่อประชากรแสนคน ภายใน พ.ศ.2563

....พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าว กทม.ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีนโยบายแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลประชาชนให้มีความปลอดภัยในการเดินทาง โดยพัฒนา กทม.ให้เป็นต้นแบบของมหานครแห่งความปลอดภัยของโลก โดยเฉพาะความปลอดภัยทางถนน จึงขอประกาศนโยบาย “มหานครปลอดภัย ปลอดอุบัติภัยทางถนน”ของกรุงเทพมหานคร โดยวางดำเนินงาน 4 เรื่อง คือ
1.ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการจัดลำดับความเสี่ยง ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ เช่น ผู้ขับขี่ ถนน ยานพาหนะ มลภาวะ
2.สนับสนุนภาครัฐ เอกชน ประชาชน มีส่วนร่วมพิจารณาปัจจัยความเสี่ยง เพื่อแก้ปัญหารอบด้าน
3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับเขต ทุกๆ เขต
4.สร้างการเดินทางอย่างปลอดภัยที่ยั่งยืน จัดระเบียบพื้นที่ให้ผู้ใช้ถนน ทางเท้า ทางม้าลาย ใช้ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย การใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น กล้องซีซีทีวี เป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อเนื่อง

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม : เอกสาร

ข่าวสารอื่นๆ