สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
Responsive image

สปคม. กรมควบคุมโรค รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2561

สปคม. กรมควบคุมโรค รับรางวัลเลิศรัฐ..ผลงาน “รูปแบบการจัดการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานคร (BDU)

    สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประจำปี 2561 ประเภทนวัตกรรมการบริการ จากผลงาน “รูปแบบการจัดการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานคร (BDU)
    นับ...เป็นรูปแบบการบริหาร จัดการระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Dengue Unit: BDU) พื้นที่นำร่อง ได้แก่ พื้นที่เขตลาดกระบัง และเขตทุ่งครุ พบว่า ค่า HI CI และอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง ลดลงชัดเจน
    นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า 
BDU เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายและทำงานเป็นทีม จากความท้าทายสภาพพื้นที่เขตเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจาก
- ผู้ป่วยร้อยละ 60 รักษาในโรงพยาบาลเอกชน...ส่วนใหญ่ไม่มีการรายงาน,
- การรายงานผู้ป่วย ไม่ทันเวลาทำให้ไม่สามารถลงไปสอบสวน ควบคุมโรคได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมง
- จำนวนทีมควบคุมโรคมีไม่เพียงพอ
- การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องพัฒนาเพิ่มขึ้น..รวมทั้ง ..
- ประชาชนขาดความรู้ และไม่มีส่วนร่วมในการดูแลลูกน้ำยุงลายในครอบครัวและชุมชนของตนเอง และขาดความตระหนัก และไม่ทราบระดับความเสี่ยง ของการเกิดโรค
ดังนั้น จึงมีเป้าหมายการดำเนิน คือ ...
1) ประชาชนเกิดความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรค
2) รพ.รัฐ (กระทรวงศึกษาธิการ กองทัพ รัฐวิสาหกิจ) และเอกชน แจ้งข่าวเร็ว และเข้าควบคุมโรคได้เร็ว
3) สำนักงานเขต เอกชน มูลนิธิ และภาคประชาชน..ร่วมดำเนินการ
4) ลดการป่วยจากโรคไข้เลือดออก/โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
กลไกการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ
1.พัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี(Innovation andTechnology Development) โดยมี Application พิชิตลูกน้ำยุงลาย, Application ทันระบาด และMap Tool Radius
2. การเฝ้าระวัง ควบคุมความเสี่ยงไข้เลือดออก (Composite Risk) โดยใช้Composite index score เช่น ค่า HI, CI ปริมาณน้ำฝน ค่าดัชนีสิ่งแวดล้อม
3. มาตรการตามบริบทของพื้นที่ (Zoning) โดยใช้ Respond Packages ที่เหมาะสมตามบริบท ในการป้องกันควบคุมโรค
4. การสื่อสารและประเมินผล(Communication & Evaluation) โดยใช้สื่อ ประชาสัมพันธ์ เช่น Infographics แผ่นพับ โปสเตอร์ ฯลฯ ผ่านช่องทางข่าว สังคมออนไลน์ สื่อภาครัฐ กสทช.และภาคเอกชน เช่น บริษัทTRUE 
รวมทั้ง ใช้การผลักดัน ให้เกิด และการบังคับใช้กฎหมาย
• ได้นำร่องการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครปี 2560 Bangkok Dengue Unit Model จัดทำ Zoning Response & Communication ในพื้นที่นำร่อง (เขตลาดกระบัง/เขตทุ่งครุ)ตามประเภทชุมชนเขตเมือง 5 ชุมชน คือ ..
1) ชุมชนอาคารสูง ได้แก่ ชุมชนที่มีสภาพเป็นแฟลต คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ หรืออาคารอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกันชุมชนหมู่บ้านจัดสรร
2) ชุมชนที่มีการจัดสร้างขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ยกเว้นที่เป็นนิติบุคคล เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรือ บ้านแฝด
3) ชุมชนแออัด ได้แก่ ชุมชนที่มีลักษณะบ้านเรือนหนาแน่น ประชาชนอยู่อย่างแออัด เช่น อาคารพาณิชย์ แค้มป์คนงานก่อสร้าง
4) ชุมชนชานเมือง ได้แก่ ชุมชนที่มีพื้นที่ด้านเกษตรกรรม มีบ้านเรือนไม่แออัด
5) ชุมชนพิเศษ ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน สถานประกอบการ ศาสนาสถาน (วัด มัสยิด โบสถ์) หน่วยงานราชการ/เอกชน
ผลการดำเนินงาน พบว่า
• ประชาชนมีความพึงพอใจแอปพลิเคชั่น พิชิตลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 79
• เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครู มีความพึงพอใจ แอปพลิเคชั่นทันระบาด ร้อยละ 81
• ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย และอัตราป่วย ลดลงหลังจากดำเนินการ
ซึ่งในปี 2561 ได้ขยายผลนำรูปแบบการดำเนินงาน BDU นี้ ไปใช้ในพื้นที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร และเทศบาลเมืองศรีสะเกษ รวมทั้งเผยแพร่แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง สู่หน่วยงานเครือข่าย ..โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน คือ
• ส่งเสริมการบูรณาการการทำงานร่วมกันของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
• ผลักดัน สนับสนุนให้ขยายผลในการนำรูปแบบ BDU ไปประยุกต์ใช้ให้ ครอบคลุมพื้นที่เขตเมือง (เทศบาลเมือง/เทศบาลนคร/กทม./พัทยา)
• กำหนดเป็นมาตรการการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกเขตเมือง ผลักดันผ่าน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ/ระดับเขต..กทม. (พชข.) เพื่อความยั่งยืน นับเป็นรูปแบบ ที่ประชาชนได้รับประโยชน์ ได้รับการปกป้องจากโรคไข้เลือดออก

ในโอกาสนี้ขอขอบคุณ นพ.อำนวย กาจีนะ ผู้ริเริ่มโครงการฯนี้ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้คำปรึกษา ทีมงาน สปคม. ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ...กรุงเทพมหานคร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา: สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง


ข่าวสารอื่นๆ