สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
Responsive image

สปคม.กรมควบคุมโรค ร่วมกับภาคีเครือข่ายและประชาสังคม รณรงค์เชิงรุก สร้างความรอบรู้ป้องกันยุงกัด กำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เพื่อประชาชนเขตเมืองมีสุขภาพดี

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ร่วมกับภาคีเครือข่ายและประชาสังคม รณรงค์เชิงรุก สร้างความรอบรู้ป้องกันยุงกัด กำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เพื่อประชาชนเขตเมืองมีสุขภาพดี

  

....วันที่ 12 มิถุนายน 2562 ณ ลานเอนกประสงค์ ชุมชนแหลมทองนิเวศน์ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

    สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ร่วมกับ สำนักงานเขตดอนเมือง รวมทั้งประธานชุมชนแหลมทองนิเวศน์ เครือข่ายแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชน รณรงค์สร้างความรอบรู้ป้องกันยุงกัด กำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ร่วมกันปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ชีววิถี ลดใช้สารเคมี กำจัดพาหะนำโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ดังนี้
1. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนตระหนักและรับรู้ถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก
2.เพื่อสร้างความร่วมมือของประชาชนในชุมชนในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและตัวเต็มด้วยวิธีชีววิถี ลดการใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือทรายกำจัดลูกน้ำ เช่น การปั้นก้อนปูนแดงใส่ในน้ำ น้ำส้มสายชู 
3. ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมในบ้านนอกบ้านและชุมชน ปรับสภาพที่รกร้างเพื่อกำจัดจุดเสี่ยง
4. เพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดในชุมชน ไม่ให้เกิดผู้ป่วยหรือตายโรคไข้เลือดในชุมชน 
5. เพื่อทำให้ชุมชนปลอดจากโรคไข้เลือดออก

    ทั้งนี้ ภายในงานกิจกรรม มีการให้ความรู้การป้องกันโรคจากยุงลาย และเน้น 3 เก็บ 3 โรค (โรคไข้เลือดออก โรคไวรัสซิกา และโรคชิคุนกุนยา) โดย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และการฝึกปฏิบัติวิธีการทำ และวิธีการใช้ปูนแดง เกลือแกง ผงซักฟอก ด้วยวิธีชีววิถี ลดใช้สารเคมี กำจัดพาหะนำโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดย สำนักงานเขตดอนเมือง นอกจากนี้ มีกิจกรรม ถาม-ตอบปัญหา และมอบรางวัลแก่ชุมชนที่เข้ากิจกรรม“กำจัดพาหะนำโรคไข้เลือดออกในชุมชนด้วยวิธีชีววิถี” ด้วย

    สำหรับ ในพื้นที่เขตดอนเมือง ทางสำนักงานเขตให้ความสำคัญ กล่าวว่า ปีนี้พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่มาก และยังไม่มีมีผู้ป่วยเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม โรคไข้เลือดออกเกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค และสามารถป้องกันได้ โดยร่วมมือกัน กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และตัวเต็มวัยที่เป็นพาหะนำ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือกันหน่วยงานราชการ เอกชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข( อสส.) และประชาชน รวมทั้งสถานที่ต่างๆ ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน สถานที่ทำงาน จึงมีความสำคัญมาก เพื่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชน ต่อไป


ข่าวสารอื่นๆ