สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช
Responsive image

“สคร.11 ชวนจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่ในชุมชน”

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ชวนร่วมกันเป็นจิตอำสำ ในการค้นหาผู้ป่วย โรคเรื้อนรายใหม่ ให้รีบออกมารักษาโดยเร็ว ลดการเกิดความพิการในผู้ป่วยรายใหม่ เป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยได้รับกำร รักษาอย่างต่อเนื่อง ครบถ้วนตามกำหนด และส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนสามารถดำรงชีวิตในชุมชนได้ตามปกติย้ำ “โรคเรื้อนรักษาหาย รู้เร็วรักษาทัน ป้องกันความพิการได้” “ผิวหนังเป็นวงด่างชา ผื่นหรือตุ่มนูนแดงไม่คัน” รีบพบแพทย์หายได้ไม่พิการ พญ.ศิริลักษณ์ ไทยเจริญ ผู้อำนวยกำรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี ถือเป็น “วันราชประชาสมาสัย” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและสืบสาน พระราชปณิธานการกำจัดโรคเรื้อนของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระมหำกรุณาธิคุณ ต่องานควบคุมโรคเรื้อน ด้วยในสังคมสมัยก่อนยังไม่มียารักษาโรคเรื้อนที่ได้ผลดี ส่งผลให้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพิการ ทำให้ถูกรังเกียจไม่ได้ยอมรับจากคนทั่วไป หรือแม้แต่คนในครอบครัว โรคเรื้อน (Leprosy) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โดยทำให้เกิดโรคที่ผิวหนังและ ที่เส้นประสาทส่วน ปลำยเป็นหลัก โรคมีลักษณะเป็นไปอย่างช้ำๆ ถ้ำปล่อยไว้โดยไม่ได้รับกำรรักษา ในที่สุดจะเกิดความพิการที่ มือ เท้า ใบหน้า ดูเป็นที่น่ำรังเกียจแก่คนทั่วไป ทำให้ไม่มีคนกล้าเข้าใกล้ เหตุเพราะอาจกลัวติดโรคหรือเกิดจำกความเชื่อเก่าๆ ทั้งที่จริงโรคนี้ติดต่อกันได้ยาก มียารักษาให้หายก่อนที่จะเกิดความพิการตามมา และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคนี้น้อย มาก โรคเรื้อนเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ ไมโคแบคทีเรียม เลปรา (Mycobacterium leprae) ซึ่งเป็นแบคทีเรียอยู่ใน กลุ่มเดียวกับแบคทีเรียที่ทาให้เกิดวัณโรค เชื้อโรคเรื้อนแพร่ติดต่อผ่ำนระบบทางเดินหายใจ โดยการสัมผัส คลุกคลี และใกล้ชิดกับผู้ป่วยเชื้อมากระยะติดต่อที่ยังไม่ได้รับการรักษา ซึ่งเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญ ผู้ที่รับเชื้อโรคเรื้อนมี โอกาสเป็นโรคกว่า ซึ่งการเกิดโรคขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของผู้รับเชื้อแต่ละคน กล่าวคือผู้รับเชื้อโรคเรื้อน 100 คนจะมี เพียง 3 -5 คนที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเรื้อนผิดปกติที่จะเกิดเป็นโรคเรื้อน ระยะฟักตัวของโรค ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค เรื้อน โรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย ใช้เวลานาน 3 - 5 ปี ส่วน โรคเรื้อนชนิดเชื้อมำกใช้เวลา 10 - 20 ปี อำกำรรอยโรค ทำงผิวหนังที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคเรื้อน คือ ผิวหนังเป็นวงสีจาง ผิวแห้ง ขนร่วง เหงื่อไม่ออก มีอาการชา เป็นผื่น หรือตุ่มนูนแดง ไม่คัน อาการที่พบจะเป็นเรื้อรังนานมากกว่า 3 เดือน รักษาด้วยยากินหรือยาทำไม่ดีขึ้น รอยโรค ผิวหนังในผู้ป่วยโรคเรื้อนสามารถ พบได้ทุกส่วนทั่วร่างกาย ผู้ป่วยโรคเรื้อน ถ้าไม่ได้รับกำรรักษาเมื่อปล่อยให้โรค ดำ เนินไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนและมีความพิการต่างๆ เกิดขึ้นได้ในที่สุด พญ.ศิริลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคเรื้อน สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มเป็น ในปัจจุบันยาไรแฟมพิซิน (rifampicin) ซ่ึงเป็นองค์ประกอบในยาผสมระยะสั้น มีประสิทธิภาพสูงในกำรทำลายเชื้อ โรคเรื้อนได้อย่างรวดเร็ว ผลการศึกษาพบว่า กำรให้ยาไรแฟมพิซิน ขนาด 600 มก. เพียงครั้งเดียวสามารถฆ่าเชื้อ โรคเรื้อนได้ถึง 99.9 % ภำยใน 3 - 7 วัน ซึ่ง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถแพร่เชื้อต่อไปได้อีก และผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวดังนี้
1. รับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนครบ โดยผู้ป่วยชนิดเชื้อน้อยรักษาด้วยยาผสมระยะสั้น ใช้เวลารักษา 6 เดือน ผู้ป่วย ชนิดเชื้อมาก ใช้เวลารักษา 2 ปี สิ่งสำคัญครอบครัวควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้กินยาให้ครบ
2. รักษาความสะอาดของ ร่างกาย
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเสริมภูมิต้านทาน
4. ทำจิตใสให้ผ่องใสไม่เครียด ไม่วิตกกังวล หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ทีสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม : เอกสาร

ข่าวสารอื่นๆ