สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ
Responsive image

MOPH and MOFA convened a Briefing/Interactive Session on International Partners in Response to COVID-19

MOPH and MOFA convened a Briefing/Interactive Session on International Partners in Response to COVID-19

          The Ministry of Public Health and the Ministry of Foreign Affairs convened a Briefing/Interactive Session on International Partners in Response to COVID-19 to update the disease situation and seek close collaboration among representatives of Diplomatic Missions, Consular Representatives and International Organizations in Bangkok, and enhance global health security. Delegates of embassies from 62 countries and representatives from 17 international partners were in attendance.

          On February 12, 2020, at the Department of Disease Control (DDC), on behalf of Director-General Dr. Suwannachai Wattanayingcharoenchai, Director-General, Dr. Sombat Thanprasertkul, Senior Expert, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, and Mr. Nadhavathna Krishnamra, Director-General, Department of International Organizations, Ministry of Foreign Affairs chaired the meeting on Preparedness for and Response to COVID-19 (Coronavirus 2019), the virus that has spread rapidly to many countries, including those represented by Diplomatic Missions, Consular Representatives and International Organizations in Thailand such as WHO Thailand and the MoPH-U.S.CDC Collaboration on Health. The Department of Medical Services and the Department of Medical Sciences of the MOPH were also in attendance.

          Dr. Sombat said that regarding the emergence of the 2019-nCoV (now officially named COVID-19) since late December last year, Thailand has implemented response measures since January 3, 2020. Due to the nature of this new infectious disease, the unclear knowledge of the disease has caused widespread confusion, panic, and an overall heightened sense of urgency. In this situation of Public Health Emergency of International Concern (PHEIC), it requires concerted efforts of multiple sectors: government, private and public to minimize its socio-economic impacts.

          Dr. Sopon Iamsirithaworn, Incident Commander of COVID-19, updated the situation as of February 12, 2020 that Thailand has had 33 confirmed cases, of which 11 have recovered, while 22 are still receiving treatment. For some patients who fell into the epidemiological definition for investigation and thus admitted in hospitals for treatment and laboratory examination, most were infected with seasonal influenza, recovered, and went back home.  

          He also provided more information on the disease prevention and control mechanism which comprises (1) The National Executive Committee on Preparedness, Prevention and Response to Emerging Infectious Diseases chaired by Thailand Deputy Prime Minister (designated by the prime minister), and (2) Enforcement of the Communicable Disease Act B.E. 2558 (2015) which orders the activation of the Emergency Operations Center (EOC) at the national, ministerial and provincial levels to implement measures including 1) Situation assessment and screening of passengers from infected areas at all ports of entry (POE), and surveillance at all hospitals and within the community, 2) Treatment of patients in isolation rooms, 3) Contact tracing and quarantine for 14 days (double of the incubation period), 4) Laboratory diagnosis and surveillance, 5) Logistic support for medical supplies and equipment, 6) Studies, research and development, 7) International cooperation, and 8) Risk communication including the Department of Disease Control Hotline 1422.

          Dr. Soawapak Hinjoy, Director, Office of International Cooperation, Department of Disease Control, informed the attendees that key information regarding disease situation reports, related information and press releases are provided in Thai, English and Chinese via the DDC Website.

          The Embassy of the People’s Republic of China gave a presentation to ensure all efforts are being made to keep foreign nationals healthy and safe and they highlighted international cooperation.

WHO Thailand presented guidelines for communication and potential mechanisms, emphasizing the importance of synergistic efforts.

          At the end of the meeting, delegates exchanged views and discussed the coordination mechanism regarding COVID-19 with an aim to bring coordinated efforts to tackle the problem in a quick and concerted manner to minimize the socio-economic impact that might occur to the people and the affected countries. This meeting highlighted the importance of global health security capacities and the need to strengthen coordination.

 

Office of International Cooperation/Division of Disease Control/

Bureau of Risk Communication and Health Behavior Promotion, DDC

12 February 2020

Tel. 02-590-3832

 

สธ. ร่วมกับ กต. หารือกับผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยและเครือข่ายนานาชาติเตรียมพร้อมรับมือโรคไวรัสโคโรนา 19 ระดับนานาชาติ

          กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) นำเสนอการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 พร้อมหารือร่วมกับผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยและหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคไวรัสโคโรนา 19 และร่วมกันส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางสุขภาพของทุกประเทศทั่วโลก
          วันนี้ (12 กุมภาพันธ์ 2563) ที่กรมควบคุมโรค นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้นายแพทย์สมบัติ แทนประเสริฐสุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ร่วมกับนายณัฐวัฒน์กฤษณามระ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในการประชุมหารือความร่วมมือและเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 ที่แพร่ไปในหลายประเทศ โดยมีผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยจาก 62 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศและหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวม 20 หน่วยงานเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
นายแพทย์สมบัติ กล่าวว่า การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2562 เป็นต้นมา และแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอย่างเข้มข้นตั้งแต่ในช่วงต้น ๆ ของการระบาดในต่างประเทศ โดยโรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้ยังขาดความชัดเจนในหลายด้าน โดยเฉพาะองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโรค ดังนั้น การบรรเทาผลกระทบของการระบาดจึงต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล ประชาชน เอกชน ซึ่งรวมถึงเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อรับมือและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขนี้อย่างใกล้ชิด โดยสถานการณ์ล่าสุดของโรคไวรัสโคโรนา 19 ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยัน 33 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 11 ราย รักษาในโรงพยาบาล 22 ราย และมีผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังโรคและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวนหนึ่ง ผลทางห้องปฏิบัติการพบว่าผู้ป่วยตามนิยามฯ ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้การรักษาจนหายและอนุญาตให้กลับบ้านแล้ว
          นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป ในฐานะผู้บัญชาการของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวถึงกลไกป้องกันและควบคุมการระบาดของประเทศไทยครอบคลุมทั่วประเทศว่า มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย) เป็นประธาน และบังคับใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในทุกระดับ (ระดับชาติ กระทรวง และจังหวัด) เพื่อ (1) ติดตามวิเคราะห์สถานการณ์และการตรวจคัดกรองผู้เดินทางในทุกช่องทางเข้า-ออกประเทศ รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคในโรงพยาบาลทุกแห่งและในชุมชน (2) ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลในห้องแยกโรค (3) ติดตามค้นหาและสังเกตอาการผู้สัมผัสเสี่ยงเป็นเวลา 14 วัน (4) สนับสนุนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (5) สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ (6) เพิ่มการศึกษา วิจัยพัฒนา (7) พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และ (8) สื่อสารความเสี่ยงแก่บุคคล หน่วยงาน หรือพื้นที่ที่เสี่ยง ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นจะสามารถทำให้ประเทศไทยลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคได้มากที่สุด
          ด้านสัตวแพทย์หญิงเสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวเสริมว่า กรมควบคุมโรคได้จัดทำเว็บไซต์สำหรับประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง 3 ภาษา (ไทย อังกฤษ จีน) เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ เช่น สถานการณ์ ความรู้เรื่องโรค วิธีการป้องกัน สื่อมัลติมีเดีย รวมถึงรายงานสถานการณ์หรือข่าวเพื่อสื่อมวลชนที่กระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอต่อประชาชน สำหรับในการประชุมครั้งนี้ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้นำเสนอมาตรการควบคุมป้องกันโรคนี้ ผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย และองค์กรระหว่างประเทศ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซักถาม ให้ข้อเสนอแนะ และร่วมพัฒนากลไกการประสานความร่วมมือเพื่อให้สามารถควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 ให้เป็นผลสำเร็จ และร่วมกันส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางสุขภาพของทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงลดผลกระทบต่อประชาชน สังคม และเศรษฐกิจให้มากที่สุด

...........................................................

ข้อมูลจาก: สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค
12 กุมภาพันธ์ 2563


ข่าวสารอื่นๆ