กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
Responsive image

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

 


แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูลคำถามที่พบบ่อย (FAQs) ผ่าน Website  : 


คำรับรองการปฏิบัติราชการ

 

1. องค์ประกอบของการจัดทำตัวชี้วัด ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ     การกำหนดตัวชี้วัด, การกำหนดค่าเป้าหมาย, การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน

2. องค์ประกอบของคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงานกรมควบคุมโรคมีกี่องค์ประกอบ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ     มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่
           - องค์ประกอบที่ 1 ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นฐาน งานประจำงานตามหน้าที่ปกติ หรืองานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก งานตามกฎหมาย กฎ นโยบายของรัฐบาล หรือมติคณะรัฐมนตรี (Functional Base)
           - องค์ประกอบที่ 2 ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจยุทธศาสตร์ แนวทางปฏิรูปภาครัฐ นโยบายเร่งด่วน หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ หรือการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันหลายหน่วยงาน (Agenda Base)
           - องค์ประกอบที่ 3 ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นที่/ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัดกลุ่มจังหวัด  (Area Base)
           - องค์ประกอบที่ 4 ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมในการบริหารจัดการระบบงาน งบประมาณ ทรัพยากรบุคคล และการให้บริการประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อไปสู่ระบบราชการ 4.0 (Innovation base)
           - องค์ประกอบที่ 5 ศักยภาพในการดำเนินการของส่วนราชการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (Potential Base)

3. ตัวชี้วัดขึ้นต้นด้วยระดับความสำเร็จหน่วยวัดต้องเป็น “ระดับ” หรือ “ขั้นตอน”
ตอบ      ระด้บ

3. ข้อมูลพื้นฐานประกอบการกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงานต้องใช้ข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อยกี่ปี
ตอบ     3 ปี

4. เกณฑ์การวัดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงานมีกี่ระดับ
ตอบ     5 ระดับ

5. การกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดต้องกำหนดอย่างไร
ตอบ     1. นำผลการดำเนินงานปีปัจจุบันมากำหนดไว้ที่ค่าคะแนน 3
          2. นำค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี มาหาค่าเฉลี่ย แล้วนำผลที่ได้มากำหนดค่าเป้าหมายไว้ที่ค่าคะแนน 3

6. การจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด (KPI Template) มีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ     1. เพื่อนำตัวชี้วัดไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ
          2. เพื่อระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดและการประเมินผล
          3. เพื่อให้ผู้รับการประเมิน และผู้ประเมิน เข้าใจรายละเอียดตัวชี้วัดได้ถูกต้องตรงกัน

7. รายละเอียดของตัวชี้วัด เป็นการอธิบายตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนในประเด็นใดบ้าง
ตอบ     1. วัตถุประสงค์
          2. วิธีการดำเนินการ
          3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการประเมินผลตามตัวชี้วัด

8. ความเหมาะสมของการกำหนดค่าเป้าหมายตัวชี้วัด อยู่ที่ระดับใด
ตอบ     ระดับ 3

9. ค่าคะแนนผลการปฏิบัติราชการระดับใด ที่แสดงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพ หรือมีผลงานดีเกินความคาดหมาย
ตอบ     ระดับ 5

 

 

 

PMQA 4.0

 

1. โครงสร้างของเกณฑ์ PMQA 4.0 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ     1.1 ลักษณะสำคัญขององค์การ ทำให้เข้าใจบริบทที่สำคัญขององค์กร ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนา
          1.2 ส่วนกระบวนการ (หมวด 1-6) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญขององค์กร มีองค์ประกอบของเกณฑ์ในแต่ละระดับ/แนวทางการดำเนินงาน
          1.3 ส่วนผลลัพธ์ (หมวด 7) ผลการดำเนินการขององค์กร เพื่อสะท้อนผลลัพธ์ที่สำคัญในแต่ละด้าน

2. ระบบราชการ 4.0 แบ่งเป็นกี่มิติ และมีอะไรบ้าง
ตอบ     แบ่งเป็น 3 มิติ
          2.1 มิติเปิดกว้างเชื่อมโยงถึงกัน (Open & Connected Government)
          2.2 มิติยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government)
          2.3 มิติมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government)

 

3. การดำเนินงานเพื่อเข้าสู่ระบบราชการ 4.0 มีปัจจัยความสำเร็จอะไรบ้าง
ตอบ     ปัจจัยความสำเร็จ 3 ประการ
          3.1 Collaboration การสานพลังภาครัฐและภาคอื่น ๆ
          3.2 Innovation การสร้างนวัตกรรม
          3.3 Digitalization การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล

 

4. ระดับการพัฒนาของระบบราชการ 4.0 มีกี่ระดับ
ตอบ     มี 3 ระด้บ
          4.1 ระดับพื้นฐาน (Basic) 300-399 คะแนน มีแนวทาง มีการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิผลที่ตอบสนองพันธกิจและหน้าที่ของส่วนราชการ
          4.2 ระดับก้าวหน้า (Advance) 400-469 คะแนน มีแนวทางในทุกหมวด มีการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิผลที่ตอบสนองพันธกิจและหน้าที่ของส่วนราชการ เชื่อมโยงกับเป้าหมายของประเทศ พัฒนาตามแนวทางราชการ 4.0
          4.3 ระดับพัฒนาจนเกิดผล (Significance) 470 – 500 คะแนน มีแนวทางในเรื่องสำคัญในทุกหมวดที่ครบถ้วน มีการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิผลที่ตอบสนองพันธกิจและหน้าที่ของส่วนราชการ เชื่อมโยงกับเป้าหมายของประเทศ บูรณาการทุกภาคส่วน พัฒนาตามแนวทางราชการ 4.0 จนเกิดผล

 

5. โครงสร้างของ PMQA4.0 CHECKLIST ที่สำคัญมีอะไรบ้าง
ตอบ     5.1 เกณฑ์ PMQA 4.0 แสดงรายละเอียดความหมายของเกณฑ์ PMQA4.0 ในแต่ละระดับ (Basic , Advance , Significance)
          5.2 Checklist แสดงรายละเอียด Checklist การดำเนินงาน โดยจำแนกรายละเอียดในแต่ละระดับเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ 1) ส่วน Process และ 2) ส่วน Process Result
          5.3 ความหมาย/เจตนารมณ์/แนวปฏิบัติ แสดงรายละเอียดความหมายของเกณฑ์ในแต่ละระดับเพื่อความเข้าใจและการดำเนินงานที่ถูกต้อง โดยแสดงรายละเอียดความหมายหลักการ และแนวปฏิบัติที่ดี

 

 

 

รางวัลคุณภาพ

1.รางวัลเลิศรัฐ คืออะไร และหน่วยงานใดเป็นผู้ให้รางวัล
ตอบ     างวัลเลิศรัฐ เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่มอบให้หน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานรัฐทั้งปวง โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) เป็นผู้ให้รางวัล

2. รางวัลบริการภาครัฐ คืออะไร
ตอบ     รางวัลบริการภาครัฐ เป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่มอบให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นที่พึงพอใจ ดังนั้นหน่วยงานที่ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ จึงถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่มีผลการทำงานในการยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ประสบผลสำเร็จ และสามารถสร้างขวัญกำลังใจ รวมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น

3. รางวัลบริการภาครัฐ มีกี่ประเภทรางวัล อะไรบ้าง
ตอบ     รางวัลบริการภาครัฐ ประกอบด้วย 6 ประเภทรางวัล ได้แก่
          1) ประเภทนวัตกรรมการบริการ
          2) ประเภทพัฒนาการบริการ
          3) ประเภทขยายผลมาตรฐานการบริการ
          4) ประเภทบูรณาการข้อมูลเพื่อการบริการ
          5) ประเภทการบริการที่ตอบสนองต่อสภาวะวิกฤต
          6) ประเภทยกระดับการอำนวยความสะดวกในการให้บริการ

4. รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม คืออะไร
ตอบ     รางวัลที่มอบให้กับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อสร้างแรงจูงใจ และสร้างขวัญกำลังใจในการเชิดชูผลการปฏิบัติราชการ โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่การให้ข้อมูลข่าวสาร (Inform) การรับฟังความคิดเห็น (Consult) การเข้ามาเกี่ยวข้อง (Involve)ไปจนถึงการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) รวมทั้งสร้างความภาคภูมิใจของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหรือผลักดันการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ   อันนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงและการนำไปสู่แนวปฏิบัติหรือต้นแบบที่ดี (Best Practice) โดยมุ่งเน้นทั้งกระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Result) การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม

5. รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม มีกี่ประเภทรางวัล อะไรบ้าง
ตอบ     รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 5 ประเภทรางวัล ได้แก่
          1) เปิดใจใกล้ชิดประชาชน (Open Governance)
          2) สัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change)
          3) ผู้นำหุ้นส่วนความร่วมมือ (Engaged Citizen)
          4) เลื่องลือขยายผล (Participation Expanded)
          5) ร่วมใจแก้จน (Collaboration towards Poverty Eradication)