ข้อ1 | Q : ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คือ ? |
A: ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคน และสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ โดยเชื้อไวรัสนี้พบครั้งแรกในการระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019 |
ข้อ2 | Q: ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เหมือนไวรัสโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางและโรคซาร์สหรือไม่? |
A: ไม่เหมือน เนื่องจากตระกูลโคโรนาไวรัส เป็นสาเหตุการป่วยในคนและในสัตว์ เช่น อูฐ แมว คางค้าว ซึ่งไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ไม่เหมือนกับไวรัสโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือ ไวรัสโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) ii |
ข้อ3 | Q: อาการของผู้ป่วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีอาการอย่างไร? |
A: อาการทั่วไป ได้แก่ อาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดออักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิต |
ข้อ4 | Q: ผู้ป่วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 รักษาอย่างไร? |
A: การรักษาแบบประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการป่วยต่างๆ โดยปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค |
ข้อ1 | Q: ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่ของเชื้อในสิ่งแวดล้อม เช่น บนสิ่งของ อาหาร? |
A: ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อยู่บนพื้นผิวได้นานเพียงใด ขณะที่ข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าไวรัสอาจอยู่รอดได้ในไม่กี่ชั่วโมง โดยน้ำยาฆ่าเชื้อสามารถฆ่าเชื้อไวรัสไม่ให้สามารถแพร่เชื้อได้ |
ข้อ2 | Q: ความรุนแรงของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เมื่อเทียบกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นๆ ? |
A: ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีอาการคล้ายไข้หวัด อาการทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดออักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิต แม้ว่าอาการหลายอย่างจะคล้ายคลึง แต่เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัสที่แตกต่างกัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะสามารถระบุโรคตามอาการเพียงอย่างเดียว จึงต้องอาศัยการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันเชื้อ |
ข้อ1 | Q: ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไ? |
A: ไวรัสชนิดนี้มีความเป็นไปได้ที่มีสัตว์เป็นแหล่งรังโรค ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนการแพร่กระจายเชื้อผ่านทางการพื้นผิวสัมผัสที่มีไวรัสแล้วมาสัมผัส ปาก จมูกและตา สามารถแพร่เชื้อผ่านทาง Fexo-oral route ได้ด้วย |
ข้อ2 | Q: การซื้อสินค้าหรือสิ่งของที่มาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือไม่? |
A: ขณะนี้ยังคงมีข้อจำกัดด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นจึงใช้ข้อมูลวิชาการของเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกัน ซึ่งพบว่าไวรัสโคโรนามีความสามารถในการมีชีวิตอยู่บนผิวสัมผัสได้ไม่ดี จึงมีความเสี่ยงน้อยมากที่จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากสินค้าหีบห่อหรือสิ่งของ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนการแพร่กระจายเชื้อผ่านทางสินค้านำเข้าจากประเทศจีน และยังไม่พบผู้ป่วยที่มีความสัมพันธ์กับการขนส่งสินค้าแต่อย่างใด |
ข้อ3 | Q: การนำเข้าสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนมีเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้ออย่างไร? |
A: ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนการนำเข้าสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อได้ |
ข้อ1 | Q: ประชาชนทั่วไปควรป้องกันตนเองอย่างไร? |
A: หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้มีอาการป่วย รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณตา จมูกและปาก โดยไม่ได้ล้างมือ ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือน้ำยาแอลกอฮอล์ล้างมือ 70% หากมีไข้ ไอ หายใจลำบาก ให้ไปพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินทาง |
ข้อ2 | Q: เมื่อท่านมีอาการป่วยท่านควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นอย่างไร? |
A: ควรพักอยู่ที่บ้าน ปิดปากและจมูกด้วยทิชชูทุกครั้งที่ไอหรือจาม และทิ้งลงถังขยะ ทำความสะอาดและทำลายเชื้อตามวัสดุสิ่งของ และผิวสัมผัสต่างๆ |
ข้อ3 | Q: หากท่านมีอาการป่วยหลังกลับจากการเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีนควรทำอย่างไร? |
A: หากท่านเดินทางกลับจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใน 14 วัน และมีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เหนื่อยหอบ โปรดไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง และควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น โดยงดเดินทางขณะป่วย ถ้าจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หลีกเลี่ยงคลุกคลี่กับผู้อื่น ปิดปากและจมูกด้วยทิชชูทุกครั้งที่ไอหรือจามและทิ้งลงถังขยะ ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือ 70% |
ข้อ4 | Q: หากสงสัยว่ามีอาการป่วยจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ควรทำอย่างไร? |
A: ผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จะมีอาการไข้ ร่วมกับ อาการทางเดินหายใจ เช่น ไอจาม มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ และมีประวัติเดินทางไปยังประเทศจีน ภายใน 14 วันก่อนเริ่มมีอาการ หากมีอาการและประวัติเดินทางดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป |
ข้อ5 | Q: ชนิดของหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ |
A: 1) บุคคลที่ไม่มีอาการระบบทางเดินหายใจ ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย (Surgical Mask
เนื่องจากไม่มีหลักฐานแสดงถึงการป้องกันบุคคลที่ไม่ป่วย อย่างไรก็ตามอาจสวมใส่หน้ากากอนามัย ในประเทศที่มีความเสี่ยง หรือเมื่ออยู่ในที่ชุมชนที่มีคนจำนวนมากเพื่อป้องกันตัวเอง
2) บุคคลที่มีอาการระบบทางเดินหายใจควรสวมหน้ากากอนามัย (Surgical Mask) และไปพบแพทย์ หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากiiii |
ข้อ6 | Q: การทำความสะอาดที่พัก |
A: ควรมีการทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะอาหาร ผ้าห่ม ผ้าปูเตียง เครื่องครัว จาน ชาม ช้อน ซ้อม แก้วน้ำ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง |
ข้อ7 | Q: ขอแบบคัดกรองโรคในสถานที่ที่มีผู้เข้าออก หรือรวมตัวกันจำนวนมากอย่างฮอล์สำหรับจัดกิจกรรมใหญ่ ๆ |
A: ผู้จัดกิจกรรมควรคัดกรองผู้เข้าร่วมกิจกรรม ด้วยอาการ ไข้ ร่วมกับอาการะบบทางเดินหายใจ ไอ มีน้ำ มูก เหนื่อยหอบ และมีประวัติการเดินทางจากประเทศจีน ภายใน 14 วัน |
ข้อ8 | Q: ระดับของการแจ้งเตือนมีกี่ระดับ ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงสุดแล้วหรือยัง |
A: การแจ้งเตือนมี 4 ระดับ โดยขณะนี้อยู่ในระดับที่ 3 หลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น |
ห้องปฏิบัติการอ้างอิง Reference Laboratory | ห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจ 2019-nCoV ได้ ตามที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศ | ห้องปฏิบัติการอื่นๆ ที่ตรวจได้ แต่ยังไม่ได้รับการประกาศโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข | กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์(NIH) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกแห่ง ยกเว้น ศวก.สระบุรี | สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 2 4 และ 10 |
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคติดต่อ อุบัติใหม่ สภากาชาดไทย (TRC-EID) | คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล | สถาบันบำราศนราดูร |
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี | ||
โรงพยาบาลราชวิถี | ||
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย |
i โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ii https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/about/transmission.html iii https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/faq.html iiii https://www.who.int/publications-detail/advice-on-the-use-of-masks-the-community-during-home-care-and-in-health-care-settings-in-the-context-of-the-novel-coronavirus-(2019-ncov)-outbreak