ลักษณะโรค
โรคเท้าช้าง (Filariasis) เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค มีอาการที่เห็นได้ชัด คือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง
สาเหตุ
โรคเท้าช้างในประเทศไทยมี 2 ชนิด ชนิดแรกเกิดจากเชื้อ Brugia malayi มักมีอาการแขนขาโต พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส โดยมียุงลายเสือ (Mansonia) เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้กัดกินเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง ชนิดที่สองเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พบมากในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรี และอำเภอทองผาภูมิ) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด) จังหวัดระนอง (อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง) เป็นต้น ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ยุงลายป่า (Aedes niveus group) เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้ และกระบอกไม้ไผ่
ปัจจุบันพบว่าเชื้อโรคเท้าช้างชนิด Wuchereria bancrofti สายพันธุ์ที่นำเข้าโดยผู้อพยพจากชายแดนไทยพม่า มียุงพาหะหลายชนิดรวมทั้งยุงรำคาญ (Culex) ซึ่งเป็นยุงบ้านที่พบได้ทั่วไป
วิธีการติดต่อ
เมื่อยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างระยะติดต่อกัดคน เชื้อจะเคลื่อนตัวออกจากส่วนปากของยุงมาที่บริเวณผิวหนัง ไชเข้าสู่ผิวหนังตรงรอยยุงกัด และเข้าไปเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวแก่ในต่อมน้ำเหลือง มีระยะฟักตัว 3-9 เดือน จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรียซึ่งจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงมากัดก็จะรับเชื้อตัวอ่อนเข้าไปและเจริญเป็นพยาธิระยะติดต่อภายใน 1-2 สัปดาห์
โรคเท้าช้างแพร่เชื้อโดยยุงที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้
- พยาธิฟิลาเรียชนิด Wuchereria bancroft มียุงลายชนิด Aedes desmotes, Ae. harinasutai, Ae. annandalei, Ae. imitator และยุงลายเสือชนิด Mansonia dives เป็นพาหะ
- พยาธิฟิลาเรียชนิด Brugia malayi มียุงลายเสือชนิด Mansonia uniformis, M. indiana, M. bonneae, M. annulata และ Coquilletidia crassipes เป็นพาหะ
อย่างไรก็ตาม ยังพบได้อีกว่า ยุงรำคาญที่พบมากทั้งในเขตเมืองและกึ่งเมือง ยุงก้นปล่องในเขตชนบท และยุงลายในพื้นที่แพร่โรค
ระยะฟักตัว
มีระยะฟักตัว 3-9 เดือน จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรียซึ่งจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด
ระยะติดต่อ
เมื่อยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างระยะติดต่อกัดคน เชื้อจะเคลื่อนตัวออกจากส่วนปากของยุงมาที่บริเวณผิวหนัง ไชเข้าสู่ผิวหนังตรงรอยยุงกัด และเข้าไปเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวแก่ในต่อมน้ำเหลือง มีระยะฟักตัว 3-9 เดือน จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรียซึ่งจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงมากัดก็จะรับเชื้อตัวอ่อนเข้าไปและเจริญเป็นพยาธิระยะติดต่อภายใน 1-2 สัปดาห์
อัพเดตข้อมูล 17 สิงหาคม 2565
โรคเท้าช้าง เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค มีอาการที่เห็นได้ชัด คือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง โรคเท้าช้างในประเทศไทยมี 2 ชนิด ชนิดแรกเกิดจากเชื้อ Brugia malayi มักมีอาการแขนขาโต พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส โดยมียุงลายเสือ (Mansonia) เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้กัดกินเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง ชนิดที่สองเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พบมากในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น ที่อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี; อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก; อำเภอละอุ่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นต้น ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ยุงลายป่า (Aedes niveus group) เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้ และกระบอกไม้ไผ่
ปัจจุบันพบว่าเชื้อโรคเท้าช้างชนิด Wuchereria bancrofti สายพันธุ์ที่นำเข้าโดยผู้อพยพจากชายแดนไทยพม่า มียุงพาหะหลายชนิดรวมทั้งยุงรำคาญ (Culex) ซึ่งเป็นยุงบ้านที่พบได้ทั่วไป
เมื่อยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างระยะติดต่อกัดคน เชื้อจะเคลื่อนตัวออกจากส่วนปากของยุงมาที่บริเวณผิวหนัง ไชเข้าสู่ผิวหนังตรงรอยยุงกัด และเข้าไปเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวแก่ในต่อมน้ำเหลือง มีระยะฟักตัว 3-9 เดือน จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรียซึ่งจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงมากัดก็จะรับเชื้อตัวอ่อนเข้าไปและเจริญเป็นพยาธิระยะติดต่อภายใน 1-2 สัปดาห์
อัพเดตข้อมูล 17 สิงหาคม 2565
การป้องกันโรค
การป้องกันโรคเท้าช้างที่สำคัญคือ ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัดเช่น นอนในมุ้ง ทายากันยุง การใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เป็นต้น
การควบคุมและกำจัดยุงพาหะเช่น กำจัดลูกน้ำตามแหล่งต่างๆ กำจัดวัชพืช และพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำยุงลายเสือ เป็นต้น
ในเขตที่มีการระบาดหรือมีความชุกของโรคสูง วิธีที่ช่วยลดการแพร่กระจายของโรคได้ดีกว่าคือ การให้ประชาชนที่อยู่ในแหล่งระบาดของโรคเท้าช้างกินยาฆ่าเชื้อหนอนพยาธิปีละครั้ง เป็นเวลาติดต่อกันหลายๆปีเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อให้หมดไป
สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หากเป็นการย้ายไปอยู่อาศัยถาวรก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดหาพยาธิ หรือกินยาฆ่าหนอนพยาธิเป็นประจำเหมือนกับคนในพื้นที่ แต่หากเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆไม่ยาวนานหลายเดือน ก็เพียงแค่ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัดเพราะจะไม่ได้ประโยชน์จากการกินยาฆ่าหนอนพยาธิ
การดูแลรักษา
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเท้าช้าง ได้แก่
1. ผู้ที่มีอาการท่อน้ำเหลือง/ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเฉียบพลัน ให้ใช้การประคบเย็นบริเวณที่ปวดห้ามใช้น้ำร้อนประคบ และควรพักการใช้งานในส่วนนั้น ห้ามบริหารแขนขาที่มีท่อน้ำเหลือง/ต่อม น้ำเหลืองอักเสบ และห้ามใช้ผ้าพันหรือรัดบริเวณที่ปวดบวม
2. ผู้ที่มีแขน ขา หรืออัณฑะบวมโต สิ่งสำคัญคือต้องรักษาความสะอาดของผิวหนังให้ดี ซึ่งควรทำวันละ 2 ครั้งขณะอาบน้ำโดยการใช้สบู่อ่อนๆฟอกถูไปมาให้สะอาดทั้งตามรอยพับของผิวหนัง ซอกผิวหนัง และง่ามนิ้วต่างๆ โดยอาจใช้ผ้าผืนเล็กๆหรือผ้าก๊อซช่วยฟอกและถู ห้ามใช้หินหรือแปรงขัดตัวเพราะจะทำลายผิวหนังและทำให้เกิดบาดแผลได้ง่าย เมื่อล้างสบู่ออกหมดแล้วต้องซับให้แห้ง ใช้ผ้าผืนเล็กๆหรือผ้าก๊อซซับตามซอกและง่ามนิ้วให้แห้งด้วย พยายามระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบริเวณที่บวมโตเพราะจะเกิดแผลได้ง่าย ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอเพื่อป้องกันรอยเกาที่ผิวหนัง หากมีบาดแผลตามผิวหนังควรพบแพทย์พยาบาลเพื่อรับยาและคำแนะนำในการดูแลแผลที่เหมาะสม
นอกจากนี้ การบริหารแขนขาซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้การไหลเวียนของน้ำเหลือง และเลือดให้ดีขึ้นรวมถึงการนวดด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ควรรับคำปรึกษาจากแพทย์พยาบาลหรือนักกายภาพบำบัดถึงท่าทางการบริหารและการนวดที่ถูกต้อง สุดท้ายคือการยกแขนขาพักในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานซึ่งจะช่วยลดการคั่งของของเหลว/น้ำเหลืองและลดการบวมลงได้บ้าง ท่าพักที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญมากโดยเฉพาะแขนขาที่ใหญ่และหนัก จึงควรปรึกษาแพทย์พยาบาลหรือนักกายภาพ บำบัดด้วยเช่นกัน
เมื่อเริ่มติดโรคผู้ป่วยจะยังไม่อาการ แต่เมื่อรอจนเกิดอาการ ประสิทธิภาพในการรักษาจะลดลง ดังนั้นผู้อยู่อาศัยในถิ่นของโรคทุกคนรวมทั้งเด็กด้วยๆควรต้องพบแพทย์ พยาบาล หรือไปสถานีอนามัย หรือพบอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อขอรับการตรวจหรือคำปรึกษาเพื่อการรับยารักษาโรคตั้งแต่ยังไม่อาการ หลังจากนั้นควรต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของบุคลากรเหล่านั้นสม่ำเสมอ รวมทั้งการได้รับยาควบคุมโรคเท้าช้างด้วย
อัพเดตข้อมูล 17 สิงหาคม 2565
ที่อยู่
:
88/21 ถนน ติวานนนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัด นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 02-5903000
แฟกซ์
Email : [email protected]
© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 : กรมควบคุมโรค