Q : ข้าราชการบำนาญอายุ 70 ปี บริบูรณ์ จะได้รับเงินในส่วนที่เหลือ 15 เท่าของเงินบำนาญ ใช่หรือไม่ (ที่เหลืออีก 15 เท่า จะได้รับเมื่อใด)
A : ผู้รับบำนาญอายุ 70 ปี มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพ 15 เท่า ของเงินบำนาญได้ในส่วนคงเหลือ แต่หากรับ ครั้งที่ 1 และ 2 แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
Q : เดินทางไปท่องเที่ย.วต่างประเทศในช่วงวันหยุดราชการ ที่ประเทศลาว พม่า กัมพูชา หรือมาเลเซีย ซึ่งอยู่ติดกับประเทศไทย โดยข้ามผ่านด่านพรมแดนทางบก ต้องขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่ ..
A : การเดินทางไปต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะเดินทางไปในช่วงวันหยุดราชการ ไม่ได้ใช้วันลา และเดินทางไปยังประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ก็ต้องมีการขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศต่อหัวหน้าส่วนราชการ(อธิบดี)
Q : มาทำงานสายเกินกี่ครั้งจึงจะไม่ได้เลื่อนเงินเดือน
A : ตามประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง กำหนดจำนวนครั้งการมาทำงานสาย กำหนดไว้ ดังนี้ ข้าราชการและลูกจ้างประจำ มาทำงานสายได้ไม่เกิน 23 ครั้ง และพนักงานราชการและพนักงานกระทรวงฯ มาทำงานสายได้ไม่เกิน 46 ครั้งต่อรอบการประเมิน ดังนั้น ถ้าหากบุคลากรแต่ละประเภทมาสายเกินจำนวนครั้งที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน, ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน
Q : กรณีของการสมัครบุคลากรต้นแบบ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (DDC Good Guy) กรมควบคุมโรค สามารถให้ส่งบุคลากรที่เคยได้รับรางวัลได้ ซึ่งจะขัดแย้งกับแนวทางการคัดเลือกบุคลากรดีเด่นของกรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นี้หรือไม่ เพราะคนที่ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรต้นแบบ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (DDC Good Guy) เป็นผู้ที่เคยได้รับรางวัลมาแล้ว
A : ในกรณีที่เคยได้รับรางวัลบุคลากรต้นแบบ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (DDC Good Guy)
กรมควบคุมโรคมาแล้ว สามารถได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นของกรมควบคุมโรคได้ แต่ในกรณีที่เคยได้รับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของกรมควบคุมโรคมาแล้ว จะไม่มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกอีก ตามคุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือก ข้อ 2.7 "ไม่เคยเป็นผู้ได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นของกรมควบคุมโรคมาก่อน"
Q : หากต้องการทราบสถานะการขึ้นบัญชีข้าราชการ และพนักงานราชการ ของกรมควบคุมโรค สามารถดูข้อมูลได้ที่ช่องทางใด
A : สามารถดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล เมนู “update บัญชีข้าราชการ/พนักงานราชการ กรมควบคุมโรค”
Q : หากต้องการทราบข่าวการรับสมัครงานและช่องทางการรับสมัครงาน ในตำแหน่งข้าราชการ และพนักงานราชการ ของกรมควบคุมโรค สามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ช่องทางใด
A : สามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่เว็บไซต์ https://ddc.thaijobjob.com
Q : หากต้องการตรวจคุณวุฒิการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง เพื่อนำไปใช้ในการสมัครงาน สามารถตรวจคุณวุฒิและดูข้อมูลได้ที่ช่องทางใด
A : สามารถตรวจคุณวุฒิและดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ. https://accreditation.ocsc.go.th/accreditation/search/curriculum โดย เลือกระดับการศึกษา ระบุข้อมูลคุณวุฒิการศึกษา และกดค้นหา เมื่อปรากฏผลการค้นหาแล้ว ให้กดลูกศรเพื่อดูผลการรับรอง หรือกดสัญลักษณ์ปริ้นเตอร์ เพื่อพิมพ์ใบรับรอง
Q : ข้าราชการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ต่อมาได้ลาออกจากราชการหรือเกษียณอายุราชการไปแล้ว จะสามารถดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการรายนี้ได้หรือไม่
A : การที่จะดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการที่ลาออกจากราชการหรือเกษียณอายุราชการไปแล้วได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นถูกกล่าวหา เป็นหนังสือว่ากระทำาหรือละเว้นกระทำาการใดที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการเท่านั้น ดังนั้น ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และต่อมาได้ลาออกจากราชการหรือเกษียณอายุราชการไปแล้ว จึงไม่สามารถดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการรายนี้ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 100 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
Q : ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาถึงแก่ความตายระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย จะต้องดำเนินการอย่างไร
A : ต้องยุติการดำเนินการทางวินัยทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง แต่สำหรับในกรณีเป็นการดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานต่อไปและทำความเห็นเพื่อเสนอเรื่องให้กระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณาในเรื่องบำเหน็จบำนาญของผู้นั้นต่อไป (ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0504/14556 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2520)
Q : ข้าราชการถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย จะถูกงดการเลื่อนเงินเดือน หรือไม่
A : กฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 ข้อ 12 ได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจ สั่งเลื่อนเงินเดือนจะนำเอาเหตุที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดวินัย อย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญามาเป็นเหตุในการไม่พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นไม่ได้
Q : ข้าราชการที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและต่อมาพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะต้องพ้นจากตำแหน่งราชการหรือไม่
A : มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กำาหนดคุณสมบัติทั่วไปไว้โดย (6) กำหนดว่าต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ดังนั้น การที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ว่าจะเด็ดขาดหรือชั่วคราว ถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลล้มละลาย จึงยังไม่ขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการแต่หากต่อมาศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ย่อมเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ตามมาตรา 36 (6) ซึ่งมาตรา 110 (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา 57 มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้
Q : ในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) สามารถนำรายวิชาที่ดำเนินการพัฒนาสำเร็จในปีก่อนหน้ามากำหนดในแผนฯ ได้หรือไม่
A : การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) เป็นการจัดทำแผนรายปี หรือปีต่อปี จึงไม่สามารถนำรายวิชาที่เคยดำเนินการพัฒนาในปีก่อนหน้า มาบันทึกลงในแผนฯ ได้
Q : ในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ตรงส่วนของการลงชื่อผู้บังคับบัญชา จะต้องเป็นผู้บังคับบัญชาระดับใด
A : ในการลงชื่อผู้บังคับบัญชาจะเป็นระดับหัวหน้ากลุ่มขึ้นไป แต่ในกรณีที่หัวหน้ากลุ่มมอบหมายหัวหน้างานเป็นผู้กำกับ ติดตาม และประเมินแทน ก็สามารถให้หัวหน้างานลงชื่อได้
Q : ถ้ายังไม่ผ่านการทดลงการปฏิบัติหน้าที่ราชการสามารถใช้สิทธิการลาประเภทใดได้บ้าง
A : กรณียังไม่ผ่านการทดลงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติงานยังไม่ครบ 6 เดือน สามารถใช้สิทธิการลาป่วยและลากิจได้ ทั้งนี้ในกรณีปฏิบัติราชการครบ 6 เดือนแล้ว จะสามารถลาพักผ่อนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงคำสั่งพ้นทดลองการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
Q : หากต้องการรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ สามารถดูรายะละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ช่องทางใด
A : สามารถดูรายะละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเลือกกลุ่มสรรหา และกดเมนูแบบฟอร์ม (หรือคลิกที่นี่)
Q : การจัดโครงการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ (หลักสูตรต้นกล้าข้าราชการ) ของกรมควบคุมโรค ใน 1 ปีงบประมาณ จะจัดกี่ครั้ง และจัดในช่วงเวลาใด
A : การจัดโครงการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ (หลักสูตรต้นกล้าข้าราชการ) ของกรมควบคุมโรค โดยใน 1 ปีงบประมาณ จะจัดโครงการจำนวน 2 ครั้ง โดยรอบการจัดโครงการจะจัดทุก 6 เดือน ในช่วงต้นงบประมาณ และรอบกลางปีงบประมาณของปีงบประมาณนั้น ๆ
Q : หลักสูตรการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภายนอก ที่กรมควบคุมโรคประชาสัมพันธ์ หากมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนจะสามารถเบิกได้หรือไม่ และเบิกได้จากที่ใด
A : 1. กรณีหลักสูตรการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภายนอก หลักสูตรทั่วไป หากได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานต้นสังกัด ให้เบิกค่าใช้จ่ายจากหน่วยงานต้นสังกัด
2. กรณีหลักสูตรการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภายนอก หลักสูตรสำหรับผู้บริหาร สามารถขอเบิกค่าใช้จ่ายจากงบประมาณส่วนกลางกรมควบคุมโรค
Q : การประเมินความสุข ความผูกพันของบุคลากรกรมควบคุมโรคประจำปี ต้องประเมินช่วงเวลาใด
และช่องทางใด
A : การประเมินความสุข ความผูกพันของบุคลากรกรมควบคุมโรค จะดำเนินการประเมินด้วยเครื่องมือ
วัดระดับความสุข ความผูกพันของบุคลากร กระทรวงสาธารณสุข โดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประสานความร่วมมือกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ในการขอใช้ “แบบสำรวจคุณภาพชีวิต ความสุข และความผูกพัน ในองค์กรของคนทำงานในประเทศไทย (Happinometer)” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดความสุขในการทำงาน ความผูกพันในองค์กร และสมดุลชีวิตกับการทำงานของบุคลากรทุกหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข และจะดำเนินการประเมินในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2568 โดยจะแจ้งรายละเอียดและช่องทางการดำเนินการผ่านหนังสือราชการ ให้กับหน่วยงานรับทราบและดำเนินการต่อไป
Q : ในการกดรับทราบคะแนนผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ผ่านระบบ DPIS สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
A : เมื่อผู้ประเมิน ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ผ่านระบบ DPIS เรียบร้อยแล้ว ให้แจ้งผลการประเมินให้ผู้รับการประเมินทราบเป็นรายบุคคล โดยในกรณีที่ผู้รับการประเมินไม่ยินยอมรับทราบผลการประเมิน ให้ดำเนินการในรูปแบบกระดาษ โดยพิมพ์แบบสรุปผลการปฏิบัติราชการจากระบบ DPIS และให้ข้าราชการพลเรือนสามัญอย่างน้อยหนึ่งคนในหน่วยงาน ลงลายมือชื่อเป็นพยานว่าได้มีการแจ้งผลการประเมินดังกล่าวแล้ว ในแบบสรุปผลการปฏิบัติราชการของผู้รับการประเมินผู้นั้น
Q : การปลดล็อคตัวชี้วัดในระบบ DPIS เพื่อแก้ไขตัวชี้วัด หลังจากยืนยันตัวชี้วัดไปแล้ว
A : ในกรณีที่ต้องการปลดล็อคตัวชี้วัดในระบบ หลังยืนยันตัวชี้วัดไปแล้ว สามารถดำเนินการได้
โดยการให้ผู้รับการประเมินรายงานผลการดำเนินการทุกตัวชี้วัด แล้วกดส่งแฟ้มไปยังผู้ประเมิน จากนั้นทางผู้ประเมิน จะสามารถปลดล็อคตัวชี้วัดได้อีกครั้ง เมื่อปลดล็อคตัวชี้วัดแล้ว สถานะของแฟ้มตัวชี้วัดจะกลับไปเริ่มต้นใหม่ ซึ่งผู้รับการประเมิน สามารถดำเนินการแก้ไขได้ต่อไป