ลักษณะโรค
โรคไข้มาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อโปรโตซัวในกลุ่มพลาสโมเดียม (Plasmodium spp.) ปัจจุบันในประเทศไทยเชื้อที่พบส่วนใหญ่คือ Plasmodium vivax ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการรุนแรง แต่สามารถเป็นๆ หายๆ จากเชื้อที่มีระยะหลบพักในตัว
โดยเชื้อมาลาเรียที่ก่อโรคในคนมี 5 ชนิด ได้แก่
1. Plasmodium falciparum เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมฟัลชิปารัม หรือ พีเอฟ (P.f.) เป็นเชื้อชนิดรุนแรง หากป่วยหนัก อาจมีอาการมาลาเรียขึ้นสมอง ถ้ารักษาไม่ทันอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
2. Plasmodium vivax เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมไวแวกซ์ หรือ พีวี (P.v.) เป็นเชื้อชนิดไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รักษาให้หายขาด เชื้อสามารถอยู่ในร่างกายคนได้นานหลายปี จึงทําให้มีอาการของโรคไข้มาลาเรียเป็นๆ หายๆ
3. Plasmodium malariae เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมมาลาเรอิ หรือ พีเอ็ม (P.m.)
4. Plasmodium ovale เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมโอวาเล หรือ พีโอ (P.o.)
5. Plasmodium knowlesi เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมโนไซ หรือ พีเค (P.k.) เป็นเชื้อมาลาเรียที่อยู่ในลิงแสม แล้วติดมาสู่คน
สาเหตุโรคไข้มาลาเรีย
โรคไข้มาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อโปรโตซัวในกลุ่มพลาสโมเดียม (Plasmodium spp.) ซึ่งติดต่อสู่คนโดยการกัดของยุงก้นปล่อง (Anopheles) นอกจากนี้เคยมีรายงานการติดเชื้อจากคนสู่คนผ่านการรับเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์แต่พบน้อยมาก ยุงก้นปล่องสปีชีส์ที่พบว่านำโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย ได้แก่ Anopheles dirus, An.minimus, An. maculatus, An. epiroticus, An. aconitus
การติดต่อของโรค
เมื่อยุงก้นปล่องตัวเมียมีเชื้อมาลาเรียกัดคน ยุงจะปล่อยเชื้อมาลาเรียจากต่อมน้ำลายเข้าสู่กระแสเลือด
ระยะฟักตัวของโรค
- เชื้อมาลาเรียฟัลซิปารัม (P.f) ระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน
- เชื้อมาลาเรียไวแวกซ์ (P.v) และ เชื้อมาลาเรียโอวาเล่ (P.o) ระยะฟักตัวประมาณ 8-14 วัน
- เชื้อมาลาเรียมาลาเรอิ (P.m) ระยะฟักตัวประมาณ 18-40 วัน
ระยะติดต่อ
วงจรชีวิตเชื้อมาลาเรีย
- เชื้อมาลาเรียมีการเจริญเติบโตอยู่ 2 ระยะ คือ ในยุงก้นปล่อง และในคน
- เริ่มจากที่ยุงก้นปล่องตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้มาลาเรีย ซึ่งมีเชื้อมาลาเรียระยะมีเพศ เชื้อเหล่านี้เข้าสู่ตัวยุงและผสมพันธุ์กันเป็นตัวอ่อนฝังตัวที่กระเพาะยุง แล้วแบ่งตัวและเดินทางไปยังต่อมน้ำลายยุง เมื่อยุงกัดคนและปล่อยน้ำลายเพื่อไม่ให้เลือดแข็งตัวระหว่างการดูด ก็ปล่อยเชื้อมาลาเรียเข้าสู่กระแสเลือดคนเช่นกัน
- ระยะในตับ เมื่อยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดคนก็ปล่อยเชื้อจากต่อมน้ำลายสู่กระแสเลือด และเข้าสู่เซลล์ตับ มีการแบ่งตัวเพิ่มจํานวนขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระยะหนึ่งก็แตกออกจากเซลล์ตับ เข้าสู่กระแสเลือดและเม็ดเลือดแดง
- ระยะในเม็ดเลือดแดง เมื่อเชื้อมาลาเรียแตกออกจากเซลล์ตับ เข้าสู่เม็ดเลือดแดงก็มีการแบ่งตัวเพิ่มจํานวนมากขึ้น จนถึงช่วงเม็ดเลือดแดงแตก เชื้อก็จะเข้าสู่เม็ดเลือดแดงอื่นๆเพื่อหาอาหารเลี้ยงตัว มีการเจริญแบ่งตัววนเวียน ทั้งนี้เชื้อบางตัวมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเชื้อมีเพศทั้งเพศผู้เพศเมีย ระยะนี้ผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการของโรค คือ ไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ระยะนี้ตรวจพบเชื้อมาลาเรียในเลือดได้
- สําหรับเชื้อมาลาเรียไวแวกซ์นั้น บางส่วนหยุดพักการเจริญเติบโตชั่วคราว เมื่อผ่านไประยะหนึ่งสามารถกลับมาเจริญเติบโตใหม่ได้ จึงเป็นสาเหตุของการเกิดอาการไข้กลับ เป็นมาลาเรียซ้ำอีก
อัดเดตข้อมูล 10 สิงหาคม 2565
อาการของโรคไข้มาลาเรีย
โดยทั่วไปมีอาการนําคล้ายกับเป็นไข้หวัดแต่ไม่มีน้ำมูก โดยจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร อาการต่างๆ อาจเป็นอยู่ในระยะสั้นเป็นวันหรือหลายวันก็ได้ ขึ้นอยู่กับระยะฟักตัวของเชื้อมาลาเรียแต่ละชนิด
อาการที่เด่นชัดของโรคไข้มาลาเรียประกอบด้วย 3 ระยะ คือ
1. ระยะหนาว ซึ่งเป็นช่วงการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย ผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ปากและตัวสั่น ซีด ผิวหนังแห้งหยาบ กินเวลาประมาณ 15-60 นาที
2. ระยะร้อน ผู้ป่วยมีไข้สูง อาจมีอาการคลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย ตัวร้อนจัด หน้าแดง หิวน้ำ
3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยมีเหงื่อออกจนเปียกชุ่ม ร่างกายอ่อนเพลียและหายไข้ กลับเหมือนคนปกติ และจับไข้ใหม่ตามอาการในข้อ 1-3
การตรวจหาเชื้อโรคไข้มาลาเรีย
- มาลาเรียชุมชน (ตั้งในหมู่บ้านที่มีการแพร่เชื้อมาลาเรีย)
- มาลาเรียคลินิก (มักตั้งในชุมชน หรือที่หน่วยควบคุมโรคติดต่อนําโดยแมลง)
- โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
- โรงพยาบาลคณะเวชศาสตร์เขตร้อน กรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ สามารถขอคําแนะนําเรื่องโรคไข้มาลาเรียและการตรวจรักษา ได้ที่อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครมาลาเรีย
รายละเอียดเพิ่มเติมทาง https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=17
อัดเดตข้อมูล 10 สิงหาคม 2565
ยารักษาโรคไข้มาลาเรีย
ยารักษามาลาเรียชนิดฟัลชิปารัมหรือพีเอฟ (P.f)
ยารักษามาลาเรียชนิดไวแวกซ์หรือพีวี (P.v) และชนิดโอวาเลหรือพีโอ (P.o)
ยารักษามาลาเรียชนิดมาลาเรอีหรือพีเอ็ม (P.m) และโนเลซีหรือพีเค (P.k)
อาการข้างเคียงจากการกินยารักษาโรคไข้มาลาเรีย
การป้องกันโรคไข้มาลาเรีย
ที่อยู่
:
88/21 ถนน ติวานนนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัด นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 02-5903000
แฟกซ์
Email : [email protected]
© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 : กรมควบคุมโรค