วันนี้ (21 สิงหาคม 2567) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์โรคฝีดาษวานรที่กำลังแพร่ระบาดและพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากในทวีปแอฟริกาอย่างใกล้ชิด ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานร เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขที่มีผลกระทบระหว่างประเทศ จึงได้มอบหมายให้ นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค เร่งดำเนินการตรวจสอบกรณีพบผู้ป่วยฝีดาษวานรสงสัยสายพันธุ์ clade I รายแรกในไทยที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และกองระบาดวิทยาว่าพบผู้ป่วยสงสัย ฝีดาษวานรสงสัยสายพันธุ์ clade I เป็นเพศชายชาวยุโรป อายุ 66 ปี เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาด โดยเดินทางมาถึงประเทศไทย วันที่ 14 สิงหาคม 2567 เวลา 18.00 น. และในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 มีอาการป่วย มีไข้ เข้าได้กับโรคฝีดาษวานร จึงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งผลตรวจเชื้อโรคฝีดาษวานร สายพันธุ์ clade II ให้ผลเป็นลบ ส่วนสายพันธุ์ clade Ib ให้ผล ไม่ชัดเจน จึงต้องตรวจใหม่ และอยู่ระหว่างรอผลตรวจยืนยัน แม้ว่าผลการตรวจยังไม่ชัดเจน แต่ประชาชนควรตระหนักถึงอันตรายของโรค และขณะนี้ได้ส่งทีมสอบสวนโรคลงพื้นที่ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยมีผู้สัมผัสเสี่ยงใกล้ชิดกับผู้ป่วยในช่วงก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย 43 ราย และขอให้ผู้ที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกาสังเกตอาการภายใน 21 วัน หากมีอาการไข้ มีผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
โดยมาตรการในการป้องกัน เนื่องจากมี 6 ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีการระบาดในขณะนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐยูกันดา สาธารณรัฐรวันดา สาธารณรัฐบุรุนดี สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ อยู่ในพื้นที่เขตติดโรคไข้เหลือง ทางด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค จึงกำหนดให้ลงทะเบียนผ่านระบบ Thai Health Pass และต้องผ่านกระบวนการคัดกรองกับเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศฯ ซึ่งผู้โดยสารที่เดินทางจาก 6 ประเทศข้างต้น จะได้รับการวัดอุณหภูมิร่างกาย สอบถามอาการ และสังเกตผื่นตามร่างกาย หากมีอาการเข้าได้กับโรคฝีดาษวานร จะมีการแยกกักผู้เดินทาง ซักประวัติ ตรวจร่างกายเพิ่มเติม พร้อมเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อส่งห้องปฏิบัติการของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศฯ และส่งผู้ป่วยต่อไปยังสถาบันบำราศนราดูร
ทั้งนี้ ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศแถบแอฟริกา ควรต้องติดตามว่าประเทศเหล่านั้นมีการระบาดหรือไม่ และควรระมัดระวังการสัมผัสใกล้ชิด หมั่นสังเกตอาการตนเอง ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง หรือเริ่มสังเกตเห็นมีผื่นขึ้นตามร่างกายเป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนอง ควรไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยรักษาตั้งแต่ต้น
กรมควบคุมโรค มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ โรคฝีดาษวานร รวมถึงโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำอื่นๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่ๆ อาจมีโอกาสพบผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่มีอาการสงสัยหรือแพร่โรคได้ จึงขอเน้นย้ำการป้องกันโรคฝีดาษวานร ดังนี้ 1) หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด หรือคนพลุกพล่าน หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด และทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวจุดสัมผัสร่วมสม่ำเสมอ 2) หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น 3) หากผู้ที่มีอาการสงสัย สามารถขอเข้ารับการตรวจหาเชื้อได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสายด่วน 1422 กรมควบคุมโรค
********************************
ข้อมูลจาก : กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศฯ/กองโรคเอดส์ฯ/กองระบาดวิทยา/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
วันที่ 21 สิงหาคม 2567
The Department of Disease Control reports the first suspected case of Mpox Clade I in Thailand; the patient traveled from Africa and tests are ongoing to confirm the strain
Today (August 21, 2024), H.E. Mr. Somsak Thepsutin, Minister of Public Health, announced that the Ministry of Public Health (MoPH) is closely monitoring the Mpox outbreak situation, which is escalating rapidly in Africa. The World Health Organization (WHO) has declared Mpox as a Public Health Emergency of International Concern (PHEIC). H.E. Mr. Somsak has instructed Dr. Thongchai Keeratihattayakorn, Director-General of the Department of Disease Control, to expedite the investigation of the first suspected case of Mpox Clade I in Thailand, involving a patient who traveled from Africa.
Dr. Thongchai Keeratihattayakorn, reported that the Division of International Disease Control Port and Quarantine and the Division of Epidemiology have identified a suspected case of Mpox Clade I. The patient, who is 66 years old, is a European national from Germany who traveled from Africa, where there are ongoing outbreaks. He arrived in Thailand on August 14, 2024 at 18:00. On August 15, 2024, he showed fever-like symptoms and clinical signs that met the criteria for suspected Mpox, which resulted in his hospitalization. The Mpox Clade II initial tests were negative, but the results for Clade Ib were not conclusive, so additional testing was necessary and the confirmation result is still pending. Despite the unclear test results, the public should be aware of the dangers of the disease.
A joint investigation team has been assigned to conduct contact tracing among the close contacts of the patient, who had 43 close contacts before entering Thailand. Individuals returning from Africa are advised to monitor their symptoms for 21 days and to seek medical attention immediately if they experience fever, rash, or swollen lymph nodes. Preventive measures are being implemented due to the ongoing outbreaks in multiple African countries including the Democratic Republic of the Congo, Uganda, Rwanda, Burundi, Kenya, and Côte d’Ivoire, all of which are also yellow fever endemic areas (except for Rwanda). Thailand will require passengers arriving on flights from any of the six aforementioned countries to undergo similar health and safety protocols as are currently implemented for yellow fever.
They are required to register through the Thai Health Pass system (https://thaihealthpass.com/) before traveling, and are required to undergo screening by the International Disease Control Port and Quarantine officers. Arriving passengers traveling from the six countries will undergo body temperature checks, symptom assessment, and skin examination for rashes. If symptoms consistent with Mpox are detected, the travelers will be isolated, have their medical history taken, undergo further physical examinations, and will have samples collected for laboratory testing by the Laboratory of the International Disease Control Port and Quarantine. Patients who have been confirmed with positive tests will be referred to Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute.
Those who are planning to travel to African countries should be aware if the destination country is experiencing an outbreak and take precautions to avoid close contact with others. In case of any symptoms such as fever, sore throat, headache, muscle aches, back pain, or appearance of a rash with clear or pustular blisters on the skin, it is important to monitor their health and seek medical attention.
The Department of Disease Control is closely monitoring the situation of Mpox as well as other emerging and re-emerging infectious diseases, particularly new strains that may be encountered among people coming from abroad. It is possible for those travelers to exhibit suspected symptoms or transmit the disease. The Department of Disease Control emphasizes the following measures for mpox prevention: 1) Avoid crowded or densely populated areas, avoid close contact with others, and people should regularly clean shared surfaces; 2) Wash hands frequently with soap or alcohol-based hand sanitizer, and avoid sharing personal items with others; 3) Individuals with suspected symptoms can request testing at any nearby healthcare facility. For further inquiries, contact the Department of Disease Control Hotline at 1422.
********************************
Source of Information: Division of International Disease Control Port and Quarantine/ Division of AIDS and STIs /Division of Epidemiology/ Bureau of Risk Communication and Health Behavior Development, Department of Disease Control
Translated to English by the Office of International Cooperation, Department of Disease Control
Dated August 21, 2024