กองบริหารทรัพยากรบุคคล
Responsive image

บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                   

การขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ

ประเภทบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ มี 2 ชนิด ได้แก่

  1.) บัตรประจำตัวที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์
  2.) บัตรประจำตัวที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์

เอกสารประกอบคำขอมีบัตร

  1. แบบคำขอมีบัตร บ.จ.1 (WORD) (PDF
  2. สำเนารายการบัตร
        - บัตรประจำเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้ แบบ 1 ข
        - บัตรประจำเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ ใช้ แบบ 2 ข
        - บัตรประจำเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญลูกจ้างประจำ ใช้แบบ ลจ
  3. รูปถ่าย ขนาด 2.5 X 3.0 ซ.ม. ครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาสีเข้มต่งเครื่องแบบปฏิบัติราชการ หรือเครื่องแบบพิธีการ (ตัวอย่างชุดปกติขาว ชุดเต็มยศ ชุดครึ่งยศ) เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ของรัฐ (หน่วยงานที่สังกัด : ตัวอย่าง) ชุดสากล หรือชุดไทยพระราชทาน ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือนก่อนวันยื่นคำขอมีบัตร จำนวน 1 รูป (ข้าราชการนอกประจำการ ให้ใช้เครื่องแบบเหมือนข้าราชการประจำการ เว้นแต่เครื่องหมายสังกัด ให้ติดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างซ้าย  และเครื่องหมายอักษร   นก  ติดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา ตัวอย่าง)
กรณี พนักงานราชการ แต่งชุดสากลนิยม (คณะกรรมการฯ กำหนดให้ใช้ชุดสากลนิยมเป็นเครื่องแบบพิธีการ) หรือชุดไทยพระราชทาน กรณี ลูกจ้างประจำ แต่งเครื่องแบบลักษณะเดียวกับข้าราชการ

    ผู้มีอำนาจลงนาม

          อธิบดีลงนามในบัตรฯ ข้าราชการ/ผู้รับบำนาญ
          กรมฯ มอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยงานระดับกองขึ้นไป เป็นผู้ลงนามในบัตรฯ แทนอธิบดี สำหรับ พนักงานราชการและลูกจ้างประจำ ตามคำสั่ง ที่ 216/2551 สว 13 ก.พ. 2551
          ลูกจ้างประจำผู้รับบำเหน็จรายเดือน กรมฯ มอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยงานระดับกองขึ้นไป เป็นผู้ลงนามในบัตรฯ แทนอธิบดี ตามคำสั่ง ที่ 197/2555 ลว 16 ก.พ. 2555
         

**** (กรมควบคุมโรคใช้แบบชนิดที่ 2) ****

    ขั้นตอนการขอมีบัตร

              - เขียนแบบคำขอมีบัตร บ.จ.1
              - พิมพ์ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง เลขบัตรประจำตัวประชาชน หมู่โลหิต และ ลงลายมือชื่อใน แบบ 1 ข
หรือ แบบ 2 ข แล้วแต่กรณี
              - ยื่นคำขอมีบัตรพร้อมรูปถ่าย ต่อหน่วยงานต้นสังกัด หรือกองบริหารทรัพยากรบุคคลโดยตรง

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  -  พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542

  -  กฎกระทรวง (พ.ศ. 2542)

  -  กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 94 (พ.ศ. 2553)

  - การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามหมายกำหนดการ

 

**เกร็ดความรู้**

    - บัตรเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ มีอายุ 6 ปี (นับแต่วันออกบัตร) สำหรับพนักงานราชการ บัตรมีอายุครบกำหนดตามสัญญาจ้าง และต้องมีวาระจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี และต้องระบุเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทพนักงานราชการ (เครื่องพิธีการลักษณะเดียวกับลูกจ้างประจำ ประดับอินทรธนู ตามที่กำหนด)
    - กรณีบัตรเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญที่ใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตรที่มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ให้คงใช้ได้ตลอดชีวิต
    - กรณีบัตรหมดอายุ ถูกทำลาย ชำรุด สูญหาย เปลี่ยนชื่อตัวและหรือชื่อสกุล เลื่อนระดับ เปลี่ยนตำแหน่ง ย้ายสังกัด ขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่่บัตรหมดอายุ ถูกทำลาย ชำรุดสูญหาย เปลี่ยนชื่อตัวและหรือชื่อสกุล เลื่อนระดับ เปลี่ยนตำแหน่ง ย้ายสังกัด แล้วแต่กรณี
    - กรณีนำบัตรเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ โดยที่ตนเองมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ ไปใช้หรือแสดงว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี และปรับ 10,000 - 100,000 บาท
    - ชุดสากล หมายถึง ชุดแต่งกายสุภาพ
      กรณี ข้าราชการสตรีไทยมุสลิม สามารถถ่ายรูปที่มีผ้าคลุมศีรษะได้ แต่ต้องเห็นหน้า หน้าผาก คิ้ว ตา จมูก ปาก และคาง (ที่ นร 1304/ว 1074/ 4 ก.พ.40)