กองนวัตกรรมและวิจัย
Responsive image

กลยุทธ์

1) เพิ่มการผลิตนวัตกรรมและงานวิจัย ทั้งในส่วนที่หน่วยงานทำเองและทำร่วมกับหน่วยงานภายนอก
  1.1) สนับสนุนให้หน่วยงานภายในกรมฯ เพิ่มการผลิตผลงานวิจัย นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์วิชาการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยคำนึงถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม ทั้งที่ผลิตเองและทำร่วมกับสถาบันที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
  1.2) เพิ่มการผลิตผลงานนวัตกรรมและวิจัยเชิงนโยบายที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

2) แสวงหาการสนับสนุนด้านวิชาการและแหล่งทุน รวมทั้งพัฒนาระบบบริหารทุนวิจัย ที่มีความคล่องตัวสูง
  2.1) เพิ่มการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ MOU กับหน่วยงานระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อให้ได้แหล่งทุนและการสนับสนุนวิชาการด้านอื่นๆ มาสร้างผลงานนวัตกรรม งานวิจัย และผลิตภัณฑ์วิชาการ
  2.2) พัฒนากลไกการทำงานร่วมกับ "มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาวิจัยการควบคุมโรค" รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนงานนวัตกรรมและวิจัย เพื่อให้เกิดระบบการทำงานที่เอื้อต่อการรับทุนสนับสนุนงานนวัตกรรมและวิจัยจากหน่วยงานภายนอก

3) พัฒนาระบบงานภายในให้มีความทันสมัยและสามารถรองรับการปฏิบัติงานตามโครงสร้างใหม่
  3.1) จัดหาอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นทดแทนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพในปัจจุบัน
  3.2) ปรับปรุงการดำเนินงานของกองนวัตกรรมและวิจัย ให้ทันสมัยและสะดวกต่อการทำงานและการให้บริการ เช่น การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ให้สอดคล้องกับการทำงานที่เป็นปัจจุบัน
  3.3) พัฒนาการบริหารจัดการนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ โดยใช้หน่วยงานที่ประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศเป็นต้นแบบ
  3.4) ผลักดันให้กองนวัตกรรมและวิจัยเป็นหน่วยงานที่อยู่ในโครงสร้างของกรมควบคุมโรคตามกฎหมาย

4) เลิก/ลดภารกิจบางด้านที่เป็นจุดอ่อนและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
  4.1) ถ่ายโอนภารกิจบางด้านที่เป็นจุดอ่อนของกองนวัตกรรมและวิจัยให้หน่วยงานที่ความพร้อมทั้งในและนอกกรมควบคุมโรค
  4.2) ลดการสนับสนุนการพัฒนางานนวัตกรรมและงานวิจัยที่ต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนานานเกินกำหนด หรือนวัตกรรมและงานวิจัยกลุ่มเป้าหมายของการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ (Potential User) ประเมินแล้วว่าไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจน 

5) ปรับปรุงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5.1) เพิ่มการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัย นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์วิชาการ รวมทั้งบริการต่างๆ ของกรมฯ ผ่านเครือข่ายวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างๆ และสื่อที่หลากหลาย โดยเฉพาะสื่อดิจิทัล
  5.2) เพิ่มการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้เครือข่ายสถานบริการ สุขภาพมีการนำผลงานนวัตกรรมและวิจัยด้านป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพไปประยุกต์ใช้
  5.3) ประสานความร่วมมือกับสำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์นวัตกรรมและวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่ถูกต้องผ่านช่องทางสื่อที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
  5.4) ยกระดับวารสารกรมควบคุมโรคให้เข้าสู่ฐานข้อมูล Asian Citation Index (ACI) รวมทั้งสามารถสืบค้นได้ในหอสมุดกลางทางการแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (PubMed.)
  5.5) เพิ่มการสื่อสารภารกิจและผลผลิตขององค์กรโดยอาศัยบุคคลที่มีชื่อเสียงช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์

6) เพิ่มบุคลากรส่วนขาดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
  6.1) เพิ่มบุคลากรส่วนขาดที่จำเป็น โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการนวัตกรรมและนักวิจัยเชิงนโยบาย
  6.2) พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะความเข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม (Digital Literacy)
  6.3) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาศักยภาพการทำงานแบบ Multicenter และทักษะที่เพิ่มศักยภาพของบุคลากร
  6.4) พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านนวัตกรรมและวิจัยเชิงนโยบาย รวมทั้งการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

7) เพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ ทั้งด้าน Hardware, Software และระบบฐานข้อมูล เพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้น
  7.1) พัฒนาสมรรถนะอุปกรณ์ด้านสารสนเทศทั้งด้าน Hardware และ Software ให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานและการให้บริการที่ทันสมัย
  7.2) พัฒนาศูนย์ข้อมูลกลาง (Central Data Center) งานนวัตกรรมและงานวิจัยด้านป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจุบัน ที่สามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานด้านนวัตกรรมและวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

8) เพิ่มการสร้างบรรยากาศที่ดีในทุกระดับขององค์กร
  8.1) เพิ่มการสร้างแรงจูงใจภายใน (Internal Motivation) ให้บุคลากรทุกระดับ
  8.2) เพิ่มสวัสดิการพิเศษให้บุคลากรในหน่วยงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่สามารถบรรจุเป็นข้าราชการได