กองบริหารทรัพยากรบุคคล
Responsive image

การลา

ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

2. คู่มือการลาและการได้รับเงินเดือนระหว่างลาสำหรับข้าราชการ

 

แนวปฏิบัติการเสนอเรื่องพิจารณาอนุญาตลา

หนังสือกรมควบคุมโรค ที่ สธ 0402.4/ว 1749 ลว. 28 มิถุนายน 2561 แนวทางการปฏิบัติกรณีการเสนอเรื่องพิจารณาอนุญาตการลา

 

การลาประเภทต่างๆ
  • การลาป่วย

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่กรณีจำเป็น ให้เสนอในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้

- กรณีป่วยจนไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้

- ลาได้เท่าที่ป่วยจริง หากลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองของแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแนบไปกับใบลา

- ลาป่วยไม่ถึง 30 วัน (ครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน) ผู้มีอำนาจอนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองแพทย์ประกอบใบลาด้วยก็ได้ (หน่วยงานอาจกำหนดเอง เช่น ลาเกิน 3 วัน)

- กรณีลาป่วยต่อเนื่องโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลา ปีหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ แต่อธิบดีจะจ่ายเงินเดือนต่อไปอีกได้ แต่ไม่เกิน 60 วันทำการ (รวมเป็น 120 วันทำการ)

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: หัวหน้าฝ่าย / หัวหน้ากลุ่ม / หัวหน้ากลุ่มงาน / หัวหน้าส่วนเทียบเท่าฝ่าย อนุญาตลาให้ได้ 30 วัน

: ผู้อำนวยการกอง อนุญาตให้ลาได้ 60 วัน

: อธิบดี อนุญาตให้ลาได้ 120 วัน

: ปลัดกระทรวง อนุญาตให้ลาได้ตามที่เห็นสมควร

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลาคลอดบุตร

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่นลงชื่อลาแทนก็ได้

- รวมวันลาแล้ว ไม่เกิน 90 วัน จะลาก่อนหรือลาหลังคลอดก็ได้

- ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลา 90 วัน ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์

- การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดซึ่งยังไม่ครบกำหนดวันลาประเภทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันที่เริ่มวันลาคลอดบุตร ( เช่น ลาป่วย 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 - 10 ม.ค. 51 และลาคลอดบุตรวันที่ 5 ม.ค. 51 - 4 มี.ค. 51 (60 วัน) ให้ถือว่าการลาป่วยสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 51 และเริ่มนับลาคลอดบุตรเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 51 เป็นวันแรก

+ กรณีแท้งบุตร หรือเด็กเสียชีวิตในครรภ์ ซึ่งต้องพักรักษาตัว ให้ใช้สิทธิลาป่วย

+ กรณีบุตรเสียชีวิตหลังคลอด ให้ใช้สิทธิลาคลอดบุตร

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: ผู้อำนวยการกอง

: อธิบดี

: ปลัดกระทรวง

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร 

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร

- ต้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ลาได้ไม่เกิน 15 วัน

- ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลา 15 วัน

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: อธิบดี

: ปลัดกระทรวง

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลากิจส่วนตัว

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้ เว้นแต่กรณีจำเป็น ไม่สามารถรอรับอนุญาตได้ทัน จะเสนอใบลาพร้อมระบุเหตุผลจำเป็นไว้แล้วหยุดไปก่อนก็ได้

- กรณีมีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอใบลาก่อนได้ ให้เสนอใบลาพร้อมเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาทันที่ในวีนแรกที่มาปฏิบัติราชการ

1.ลากิจส่วนตัว

- ไม่จำกัดวันลา แต่ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกิน 45 วัน หากเป็นปีที่เริ่มรับราชการ ให้ได้รับเงินเดือน 15 วัน

2.ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร

- ให้ลาต่อเนื่องจากลาคลอดบุตร ให้ลาได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้ากลุ่ม/หัวหน้ากลุ่มงาน/หัวหน้าส่วนเทียบเท่าฝ่าย อนุญาตลาให้ได้ 15 วัน

: ผู้อำนวยการกอง อนุญาตให้ลาได้ 30 วัน

: อธิบดี อนุญาตให้ลาได้ 45 วัน

: ปลัดกระทรวง อนุญาตให้ลาได้ตามที่เห็นสมควร

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลาพักผ่อน

- ข้าราชการมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ 10 วันทำการ ยกเว้น กรณีดังต่อไปนี้ ที่ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีที่บรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน

1. ผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครั้งแรก

2. ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว แล้วต่อมาบรรจุเข้ารับราชการอีก

3. ผู้ซึ่งลาอกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครเข้ารับการเลือกตั้ง แล้วต่อมาได้รับการบรรจุอีกหลัง 6 เดือน นับแต่วันลาออกจากราชการ

4. ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการกรณีอื่น นอกจากกรณีไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และกรณีไปปฏิบัติงานใดๆตามความประสงค์ของทางราชการ แล้วต่อมาได้รับการบรรจุเข้ารับราชการอีก

- กรณีในปีใดที่ไม่ได้ลาพักผ่อนประจำปี หรือลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันที่ยังไม่ได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆไปได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 20 วันทำการ ในปีปัจจุบัน

- สำหรับผู้ที่ได้รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสม รวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30 วันทำการ

- ให้ข้าราชการที่ประจำการในต่างประเทศในเมืองที่กำลังพัฒนา ซึ่งตั้งอยู่ที่ แอฟริกา ลาตินอเมริกา และอเมริกากลาง หรือเมืองที่มีความเป็นอยู่ยากลำบาก เมืองที่มีภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ และเมืองที่มีสถานการณ์พิเศษ มีสิทธิลาพักผ่อนได้เพิ่มขึ้นอีก 10 วันทำการแต่ไม่สามารถสะสมได้

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้

- การอนุญาตให้ลาผู้มีอำนาจจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้ โดยมิให้เสียหายแก่ทางราชการ

- ข้าราชการประเภทใดที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมีวันหยุดภาคการศึกษาที่เกินกว่าวันลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: ผู้อำนวยการกอง

: อธิบดี

: ปลัดกระทรวง

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลาอุปสมบท หรือไปประกอบพิธีฮัจย์

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชา ก่อนวันอุปสมบทหรือเดินทางประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า 60 วัน ในกรณีที่มีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอใบลาได้ ให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นประกอบการลา และให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจจะพิจารณาให้ลาหรือไมก็ได้

ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์แล้ว จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางประกอบพิธีฮัจย์ภายใน 10 วัน นับแต่วันเริ่มลา และจะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน นับแต่วันลาสิกขา หรือวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยหลักจากการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ (วันอุปสมบทหรือวันเดินไป และวันรายงานตัวกลับ รวมอยู่ภายในระยะเวลาที่ลาด้วย = ใน 120 วัน)

หากข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์แล้วไม่สามารถอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจย์ ตามที่ขอไว้ เมื่อได้มากลับเข้ารับราชการตามปกติและขอถอนไปลา ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต พิจารณาหรืออนุญาตให้ถอนวันลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจย์ได้ โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว

ให้ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน ทั้งนี้ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และยังไม่เคยลาอุปสมบท หรือไปประกอบพิธีฮัจย์ หากใช้สิทธิการลาไปแล้ว ต้องการขอลาอีก จะไม่ได้รับเงินเดือน

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: อธิบดี

: ปลัดกระทรวง

แบบฟอร์มใบลา อุปสมบท / ไปพิธีฮัจย์

  • การลาไปถือศีลและปฏิบัติธรรม

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดี ล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน (ขั้นตอน)

- ให้ลาได้ครั้งเดียวตลอดอายุราชการ ระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: อธิบดี

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล

- ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชม.

- ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชม. นับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไป

- ให้ข้าราชการเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพลตามวันเวลาในหมายเรียกนั้น โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต และให้ผู้บังคับบัญชาเสนอรายงานลาไปตามลำดับจนถึงอธิบดี

- เมื่อพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพลแล้วให้มารายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 7 วัน

- หากมีเหตุจำเป็นผู้มีอำนาจอาจขยายเวลาให้ได้แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: อธิบดี

: ปลัดกระทรวง

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดี

ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกิน 4 ปี หากลาต่อ เมื่อรวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 6 ปี

กรณีหัวหน้าส่วนราชการ

- ให้เสนอต่อปลัดกระทรวง

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: อธิบดี

: ปลัดกระทรวง

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาอนุญาต โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลา

- ข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน และให้รายงานผลการปฏิบัติงานให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ (ตามแบบที่กำหนด)

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: รัฐมนตรี

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลาตามคู่สมรส

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงปลัดกระทรวง

- ลาได้ไม่เกิน 2 ปี กรณีจำเป็นลาต่อได้อีก 2 ปี รวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปีให้ลาออกจากราชการ ทั้งนี้

- การพิจารณาการลา ผู้มีอำนาจจะให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้โดนมิให้เสียหายแก่ทางราชการ (รวมแล้วไม่เกินตามที่กำหนด)

- ข้าราชการที่ได้ลาติดตามคู่สมรสครบกำหนดแล้ว ในระหว่างที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการติดต่อกันในคราวเดียว ไม่มีสิทธิลาได้อีก ยกเว้น คู่สมรสจะได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ประจำในประเทศไทย แต่มีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศอีก จึงจะมีสิทธิขอลาได้ใหม่

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: ปลัดกระทรวง

 แบบฟอร์มใบลา

  • การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ 

- ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต พร้อมแสดงหลักฐานเกี่ยวกับหลักสูตรที่ประสงค์จะลา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะหยุดได้

- ข้าราชการที่ตกป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ เนื่องจาก

1.ได้รับอันตรายหรือการเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะการทำตามหน้าที่

- จะลาไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่หรืออาชีพ สามารถลาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด แต่ไม่เกิน 1 ปี

2.ได้รับอันตรายหรือการเจ็บป่วยเพราะเหตุอื่น และผู้มีอำนาจพิจารณาแล้วว่าสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้

- ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด แต่ไม่เกิน 1 ปี

- หลักสูตรที่จะลา จะต้องเป็นหลักสูตรที่ส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรการกุศลอันเป็นสาธารณะหรือสถาบันที่ได้รับรองจากหน่วยงานทางราชการ

- ผู้มีอำนาจอนุญาตลา

: อธิบดี อนุญาตให้ลาได้ 6 เดือน

: ปลัดกระทรวง อนุญาตให้ลาได้ 12 เดือน

 แบบฟอร์มใบลา

  • กรณียกเลิกวันลา

- ข้าราชการได้รับอนุญาตให้ลาแล้ว หากประสงค์จะยกเลิกวันลาที่ยังไม่ได้หยุดราชการ ให้เสนอขอถอนวันลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และให้ถือว่าการลาเป็นอันหมดเขตเพียงวันที่ขอถอนวันลานั้น

 แบบฟอร์มใบลา

  • กรณีการลาของพนักงานราชการ

- สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงานราชการ

- ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ(ฉบับที่ 7) (ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552)

- การนับวันลา

  • กรณีการลาของลูกจ้างประจำ

- สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้าง

- ระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555

- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ.2537 ข้อ 9

  • กรณีการลาของลูกจ้างชั่วคราว

ลาโดยได้รับค่าจ้างระหว่างลา ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ.2526 ดังนี้

1. ลาป่วย ลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 8 วัน ในปีแรก และได้ไม่เกิน 15 วันในปีถัดปีซึ่งเป็นการจ้างต่อเนื่อง

2. ลาคลอดบุตร ในปีแรกที่ปฏิบัติไม่ครบ 7 เดือนไม่มีสิทธิ กรณีจ้างต่อเนื่องลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากส่วนราชการ 45 วัน และจากประกันสังคมอีก 45 วัน

3. ลาพักผ่อน ลาได้ 10 วันทำการ แต่ในปีแรกต้องปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน

4. ลาเข้ารับการฝึกวิชาทหาร ให้ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 2 เดือน

5. ลาเข้ารับการระดมพล ให้ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วัน

6. ลาไปรับการตรวจเลือก ให้ได้รับค่าจ้างระหว่างลาเท่าที่จำเป็น

  • กรณีการลาของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข

- สิทธิประโยชน์ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป พ.ศ.2556

 

  • การขออนุญาตลาไปต่างประเทศโดยใช้วันลา

          การขอออนุญาตลาไปต่างประเทศ หมายถึง การขออนุญาตใดๆที่มีวัตถุประสงค์ที่จะไปดำเนินการ ณ สถานที่ที่มิใช่ในประเทศ

         การขออนุญาตไปต่างประเทศของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้การลาพักผ่อนหรือการลากิจส่วนตัว ซึ่งถือเป็นสิทธิประโยชน์ประการหนึ่งของบุคลากร โดยจะต้องเสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ ตามระเบียบที่กำหนด

ระเบียบที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการขออนุญาตไปต่างประเทศโดยใช้วันลา

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๓๗

ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป พ.ศ. 2561