สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
Responsive image

สาธารณสุขขอนแก่น ปูพรมค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเชิงรุกหลังพบผู้ป่วยยืนยัน Omicron ในพื้นที่หลังเดินทางมาจากเบลเยียม

สาธารณสุขขอนแก่น ปูพรมค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเชิงรุกหลังพบผู้ป่วยยืนยัน Omicron ในพื้นที่หลังเดินทางมาจากเบลเยียม

จากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ในการดำเนินการสอบสวนโรค และติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอย่างเร่งด่วน   เมื่อวันที่ 22 ธค.64 ที่ผ่านมา ณ ศาลาประชาคม   กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลขอนแก่น ร่วมกับศูนย์แพทย์มิตรภาพ ศูนย์แพทย์ชาตะผดุง  ศูนย์แพทย์ประชาสโมสร  ศูนย์แพทย์วัดหนองแวง และฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุก (Active case finding) ด้วยวิธีการ RT-PCR จำนวน 138 ราย โดยมี กลุ่มเป้าหมาย เข้ารับการตรวจ ดังนี้   1.จนท.สนง.หนังสือเดินทางชั่วคราว 23 คน จากการสอบสวนเป็น LR ซึ่งได้รับการตรวจ rt-pcr ครบทุกรายแล้ว 2.จนท.ผู้ปฏิบัติงานในชั้น 1 อาคารหลังเก่าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น และพ่อค้าแม่ค้า จำนวน 106 ราย3. ผู้ประกอบการร้านก๋วยเตี๋ยว 9 ราย  ทั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์อำนวยการประสานงานโดย งานควบคุมโรค สสจ.ขอนแก่น อนุเคราะห์สถานที่ โดย อบจ.ขอนแก่น

นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กว่างถึงกรณีที่พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด สายพันธุ์ใหม่ชนิด Omicron ในพื้นที่ว่า ขณะนี้หน่วยงานสาธารณสุขได้ระดมสรรพกำลังในการสอบสวนและควบคุมโรค โดยการลงพื้นที่ทำการคัดกรองผู้สัมผัส และดำเนินการตรวจหาการติดเชื้อเชิงรุก และขอเรียนประชาชนว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมให้ความร่วมมือในทุกด้าน โดยเฉพาะการรับมือกับโรคโควิด 19 และเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวลชนิดใหม่ Omicron ที่มีการแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ไทยตรวจพบผู้เดินทางจากต่างประเทศติดเชื้อสายพันธุ์ชนิดดังกล่าวเเล้ว และยังพบว่า การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 พบมาตลอด  สิ่งที่สำคัญมีอยู่ 4 ประการหลังกลายพันธุ์แล้ว คือ 1.แพร่ระบาดได้เร็วขึ้น 2.ความรุนแรงมากขึ้น 3.ดื้อต่อการรักษา และ 4.ทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพลดลงอย่างมีนัยยะสําคัญ ซึ่งขณะนี้รูปแบบของโควิด 19 ใกล้เคียงโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อระบาดไปเยอะแล้วจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น ความรุนแรงของโรคเหมือนจะลดน้อยลง สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตแม้แต่รายเดียว รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้าค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เนื่องจากสายพันธุ์นี้แพร่ระบาดได้เร็วกว่า 2-5 เท่า ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย แต่แยกยากจากสายพันธุ์อื่น มาตรการป้องกันที่สำคัญ ต้องฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้วกว่า 95 ล้านโดส เข็มที่ 1 ฉีดแล้วเกิน 75 เปอร์เซนต์ เข็มที่ 2 เกินกว่า 60 เปอร์เซนต์ ส่วนบูสเตอร์โดสให้รอประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้ง ว่าให้ฉีดในช่วงไหน คาดว่าภายในเดือนธันวาคมถึงมกราคม กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งฉีดบูสเตอร์ให้ประชาชนได้มากที่สุด

           นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ได้เน้นย้ำกว่า นอกจากวัคซีนแล้ว มาตรการป้องกันส่วนบุคคลเพื่อป้องกันตัวเอง  ขั้นสูงสุด (Universal Prevention) สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ยังเป็นมาตรการที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ขอเน้นย้ำให้ประชาชนมั่นใจว่า กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ มีมาตรการรองรับสายพันธุ์ดังกล่าวได้ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

 

ข้อมูลจาก : สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค/กลุ่มระบาดวิทยาฯ สคร.7 ขอนแก่น

 วันที่ 22 ธันวาคม 2564

เผยแพร่ : กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

ศูนย์รับข้อร้องเรียนสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.ขอนแก่น

หมายเลข 043 222818-9 ต่อ 237

https://ddc.moph.go.th/odpc7/index.php

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ [email protected]

 

 


ข่าวสารอื่นๆ