สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
Responsive image
พันธกิจ

1.วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพของประชาชน

2.กำหนดและพัฒนานโยบาย มาตรการ บริการ และคุณภาพมาตรฐานการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพของประชาชน

3.เผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีนโยบาย มาตรการ บริการ และคุณภาพมาตรฐานการดาเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพของประชาชน ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน

4.จัด ประสาน และพัฒนาระบบ กลไก และเครือข่าย ในการเฝ้าระวัง เตือนภัย สอบสวนป้องกัน และควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพ รวมทั้งการดำเนินการตามกฎหมายอนุสัญญา หรือกฎข้อบังคับระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

5.ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน สอบสวน และการควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพ

6.จัดให้มีบริการป้องกัน ควบคุมรักษาและฟื้นฟูสภาพ โรคและภัยที่คุกคามสุขภาพ รวมทั้งบริการเพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคติดต่ออันตรายในระดับตติยภูมิและกักกันผู้ป่วยโรคติดต่ออันตราย ผู้สัมผัสโรคหรือพาหะตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

อำนาจหน้าที่และภารกิจของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

1. กลุ่มบริหารทั่วไป มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาแนวทางและรูปแบบของงานบริหาร
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุและยานพาหนะ งานอาคารสถานที่ โสตทัศนูปกรณ์ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ของสำนักงาน
  3. พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานในด้านต่าง ๆ เช่น การประหยัดพลังงาน ลดและ
    คัดแยกขยะ การพัฒนาหน่วยงานให้เป็นสถานที่น่าอยู่น่าทำงานตามแนวทางที่กรมควบคุมโรคกำหนด
  4. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

2. กลุ่มพัฒนาองค์กร มีหน้าที่

  1. พัฒนาระบบคุณภาพบริหารจัดการองค์กรตามแนวทางที่กรมควบคุมโรคกำหนด
  2. วางแผนและบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ มีสมรรถนะการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพ และประสิทธิผล
  3. พัฒนาระบบการจัดทำ กำกับ ติดตาม ปรับปรุงให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุผลตามเป้าหมายตัวชี้วัด    คำรับรองการปฏิบัติราชการของบุคลากร/กลุ่มงาน/หน่วยงาน
  4. พัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMS) ของบุคลากร/ หน่วยงานในส่วนการประเมินสมรรถนะ และแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)
  5. เสริมสร้างระบบองค์กร ให้เป็นองค์กรคุณธรรม และจริยธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
  6. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

3. กลุ่มยุทธศาสตร์ แผนงาน และเครือข่าย มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนากลไกการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงาน การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และการพัฒนานโยบายสำคัญต่อการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
  2. ประสานและจัดทำแผนปฏิบัติราชการ และเร่งรัด ติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์บรรลุเป้าหมายผลผลิต ผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
  3. กำหนดแนวทางเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ กำกับติดตามประเมินผล และบริหารความเสี่ยงงบประมาณ ให้เกิดความคุ้มค่าตามภารกิจทั้งเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ
  4. ติดต่อและประสานงานกับองค์การและหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกรมควบคุมโรค เพื่อสร้างเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือในการวางแผนงาน และนิเทศติดตามประเมินผล
  5. พัฒนาโครงสร้างและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน
  6. ประสานและสนับสนุนกลุ่มงานหลัก ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
  7. ประสานและสนับสนุนกลุ่มงานหลัก ในการพัฒนาเครือข่ายขับเคลื่อนและเยี่ยมเสริมพลังการจัดการปัญหาโรคและภัยสุขภาพ ด้วยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
  8. ประสานและสนับสนุนกลุ่มงานหลัก ในการพัฒนาเครือข่ายขับเคลื่อนโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทาน พระราชดำริ และเฉลิมพระเกียรติ ตามที่กรมควบคุมโรคมอบหมาย
  9. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนกลุ่มงานหลัก ในการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคภัยในเขตเมือง
  10. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

4. กลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรค มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาริเริ่มองค์ความรู้ วิธีการ นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
  2. ถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ด้านการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ แก่บุคลากรสาธารณสุขในระดับเขต ประเทศ และนานาชาติ
  3. นิเทศติดตาม ประเมินมาตรฐานตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของเครือข่าย เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยเป็นไปตามมาตรฐาน ในการป้องกันควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพ
  4. ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนเครือข่ายสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ ในการนำผลตรวจวิเคราะห์มาใช้ในการวินิจฉัย ค้นหาสาเหตุ วิเคราะห์ความรุนแรง ติดตามการรักษาโรค เฝ้าระวังโรคและอุบัติการณ์การดื้อยา เพื่อให้การรักษา ป้องกันและควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

5. กลุ่มพัฒนานวัตกรรมและวิจัย มีหน้าที่

  1. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้ คิดค้นรูปแบบ หรือเทคโนโลยี เพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
  2. วิเคราะห์ สังเคราะห์ความต้องการ การผลิตผลงาน องค์ความรู้ นวัตกรรม มาตรการ มาตรฐาน กฎหมายและเทคโนโลยีด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพตามสภาพปัญหาในพื้นที่และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
  3. พัฒนากลไก ระบบเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาองค์ความรู้และคิดค้นระบบ รูปแบบ นวัตกรรมการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพให้ได้มาตรฐาน
  4. ถ่ายทอดองค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมในองค์กร แก่ภาคีเครือข่ายที่รับผิดชอบเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
  5. จัดทำฐานข้อมูลคลังความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และผลิตภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพให้กับบุคลากร และภาคีเครือข่าย
  6. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

6. กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และสนับสนุนองค์ความรู้ ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการสื่อสาร
    ความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพประชาชน เขตสุขภาพที่ 1
  2. สร้างเสริม สนับสนุนองค์ความรู้ ด้านความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพให้กับภาคีเครือข่าย
  3. พัฒนาระบบการเฝ้าระวังและตอบโต้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ ให้ได้มาตรฐาน JEE/IHR 2005 ทั้งในภาวะปกติและฉุกเฉิน
  4. พัฒนารูปแบบและช่องทางการสื่อสารสาธารณะที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและ
    ลดความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ
  5. ผลิตสื่อต้นแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สนับสนุนภาคีเครือข่าย
    เพื่อสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ
  6. ติดตามและประเมินผลการเสริมสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ เพื่อนำมาวางแผน ทบทวน ปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป
  7. พัฒนาภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้มีสมรรถนะด้านการสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพและความ
    รอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
  8. สื่อสารข้อมูลข่าวสารด้านภาพลักษณ์องค์กร เพื่อให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่รู้จักแก่ประชาชน ผ่านรูปแบบและช่องทางการสื่อสารสาธารณะที่เหมาะสม
  9. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

7. กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเครือข่าย
    ที่มีคุณภาพ ทันสมัย เชื่อถือได้ พร้อมนำเสนอข้อมูลที่สำคัญผ่านรูปแบบ และ ช่องทางต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้
  2. พัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ การพยากรณ์ทางระบาดวิทยา ทั้งในภาวะปกติ และภาวะฉุกเฉิน ให้สามารถรองรับโรคภัยที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ และโรคอุบัติใหม่ได้
  3. พัฒนามาตรฐานแนวทางการสอบสวนทางระบาดวิทยาทั้งในด้านของบุคลากร ระบบ และเครื่องมืออุปกรณ์ ให้มีความพร้อมต่อการสอบสวนโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญ และโรคอุบัติใหม่    ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน
  4. ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน ให้สามารถตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมตามมาตรฐาน
  5. กำกับ ติดตาม สนับสนุน ให้คำปรึกษา สร้างและพัฒนาเครือข่ายทางระบาดวิทยา และตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ให้สามารถดำเนินการทางระบาดวิทยา และตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
    ทางสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
  6. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
    ทางสาธารณสุขให้แก่บุคลากรผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยา และหน่วยงานเครือข่าย
  7. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

8. กลุ่มโรคไม่ติดต่อ มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และพัฒนาหลักเกณฑ์ มาตรฐาน แนวทาง คู่มือและรูปแบบการดำเนินงานเพื่อการเฝ้าระวังป้องกันโรคไม่ติดต่อ การบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน   การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และการจมน้ำ การบริโภคยาสูบ และแอลกอฮอล์
  2. เผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีฯ การเฝ้าระวังป้องกันโรคไม่ติดต่อการบาดเจ็บ
    จากการจราจรทางถนน การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และการจมน้ำ การบริโภคยาสูบ และแอลกอฮอล์ แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
  3. ประสาน สนับสนุนการดำเนินงานการเฝ้าระวังป้องกันโรคไม่ติดต่อการบาดเจ็บจากการจราจร
    ทางถนน การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และการจมน้ำ การบริโภคยาสูบ และแอลกอฮอล์
  4. พัฒนาภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ให้มีสมรรถนะด้านการเฝ้าระวังป้องกันโรคไม่ติดต่อ การบาดเจ็บ
    จากการจราจรทางถนน การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และการจมน้ำ การบริโภคยาสูบ และแอลกอฮอล์
  5. นิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ในแผนงาน         โรคไม่ติดต่อการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และการจมน้ำ
    การบริโภคยาสูบ และแอลกอฮอล์
  6. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (พระราชบัญญัติ
    การบริโภคยาสูบ/แอลกอฮอล์)
  7. ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานเฝ้าระวังป้องกัน การสอบสวนควบคุมโรคและตอบโต้
    ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ด้านโรคไม่ติดต่อ การบาดเจ็บ
    จากการจราจรทางถนน การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และการจมน้ำ การบริโภคยาสูบ และแอลกอฮอล์
  8. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

9. กลุ่มโรคติดต่อ มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี หลักเกณฑ์ รูปแบบ และมาตรฐาน เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อในเด็ก โรคหนอนพยาธิ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีน และการควบคุมโรค
    ติดเชื้อในโรงพยาบาล รวมทั้งความร่วมมือบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. เผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อในเด็ก โรคหนอนพยาธิ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีน และการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ให้กับหน่วยงาน
    ภาคีเครือข่ายหลักในพื้นที่รับผิดชอบ
  3. พัฒนาภาคีเครือข่ายหลักในพื้นที่ให้มีสมรรถนะด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อในเด็ก โรคหนอนพยาธิ โรคติดต่อ
    ทางอาหารและน้ำ โรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีน และการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้ตามมาตรฐาน
  4. นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อในเด็ก โรคหนอนพยาธิ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โรคติดต่อ
    ที่ป้องกันด้วยวัคซีน และการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล 
  5. ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
  6. พัฒนาหลักสูตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ เพื่อให้ภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีศักยภาพ
    ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ได้มาตรฐาน
  7. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

10. กลุ่มโรคติดต่อเรื้อรังและคลินิกพิเศษ มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี หลักเกณฑ์ รูปแบบ และมาตรฐานเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคติดต่อเรื้อรัง โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเรื้อน วัณโรค โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี และโรคติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งความร่วมมือบังคับใช้กฎหมาย            ที่เกี่ยวข้อง
  2. เผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ประสานสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อเรื้อรัง โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเรื้อน วัณโรค โรคไวรัส      ตับอักเสบบีและซี  ให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายหลักในพื้นที่รับผิดชอบ
  3. พัฒนาภาคีเครือข่ายหลักในพื้นที่ให้มีสมรรถนะด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อเรื้อรัง   โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเรื้อน วัณโรค และโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ได้ตามมาตรฐาน
  4. นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานโรคติดต่อเรื้อรัง โรคเอดส์ โรคติดต่อ      ทางเพศสัมพันธ์ โรคเรื้อน วัณโรค และโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี
  5. พัฒนาหลักสูตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีศักยภาพในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อเรื้อรังที่ได้มาตรฐาน
  6. จัดบริการ สอนสาธิต เพื่อพัฒนาวิชาการ และงานวิจัย ด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค และ  เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว ให้ได้รูปแบบและมีมาตรฐานในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค พัฒนาระบบต้นแบบการให้บริการในการตรวจ วินิจฉัย รักษา ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ                ทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรคให้ได้ตามมาตรฐานสากล
  7. การประเมินรับรองมาตรฐานด้านการให้บริการป้องกัน ดูแลรักษา ด้านโรคเอดส์ โรคติดต่อ           ทางเพศสัมพันธ์ โรคเรื้อน วัณโรค และไวรัสตับอักเสบบีและซี ของหน่วยบริการในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 1
  8. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

 

11. กลุ่มโรคติดต่อนำโดยแมลง มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน สอบสวน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงให้เหมาะสมกับบริบทและสภาพของพื้นที่
  2. ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง
    ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับและจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้านโรคติดต่อนำโดยแมลงในพื้นที่
  3. ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามมาตรฐานการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่สำคัญและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้านโรคติดต่อนำโดยแมลง
    ในพื้นที่
  4. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงของหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่
  5. เป็นศูนย์ข้อมูลและอ้างอิงด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้แก่ห้องปฏิบัติการแมลงพาหะนำโรค การชันสูตรโรคไข้มาลาเรียและโรคเท้าช้างที่ตรวจทางสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์ และมาตรฐานเครื่องพ่นสารเคมี
  6. ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคไข้มาลาเรียและโรคเท้าช้างด้วยวิธีทางกล้องจุลทรรศน์ จ่ายยาและติดตามผลการรักษาผู้ป่วยจนหายขาด ตามมาตรฐานกรมควบคุมโรค
  7. เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และฝึกประสบการณ์ทางด้านกีฏวิทยา สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข บุคลากรหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และนักศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานในภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

12. กลุ่มด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและชายแดน มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิจัย พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  2. ดำเนินการเฝ้าระวังโรคติดต่อระหว่างประเทศและภัยสุขภาพ ตามข้อกำหนดอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558
  3. สนับสนุนการบริหารจัดการกำกับและนิเทศงานด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
  4. ร่วมพัฒนาวิชาการ องค์ความรู้ คู่มือแนวทาง ขั้นตอนและมาตรฐาน การปฏิบัติงานเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศ
  5. จัดทำแผนพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ คัดกรองผู้ป่วยให้ได้มาตรฐาน
  6. ประสานงานเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการขับเคลื่อนการป้องกันควบคุมโรคในระดับพื้นที่
  7. สนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายให้มีศักยภาพการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างประเทศตามกรอบอนุสัญญาความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
  8. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

13. งานกฎหมาย มีหน้าที่

  1. ดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรม
  2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ตรวจสอบ เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านกฎหมายและข้อมูลการเฝ้าระวัง
    เพื่อพัฒนาและปรับปรุงให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของกรมควบคุมโรค
  3. ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำแนะนำด้านกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่กรม ส่วนราชการ หน่วยงาน
    ที่เกี่ยวข้องตลอดจนภาคเอกชน และประชาชน
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานการเฝ้าระวัง และบังคับใช้กฎหมายของกรมแก่หน่วยงาน
    ที่เกี่ยวข้อง
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญาตามหน้าที่และอำนาจของกรม
  6. ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

14. ศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยา มีหน้าที่

  1. ฝึกอบรมหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาภาคสนามตามหลักสูตรระดับประเทศ และนานาชาติ ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
  2. สนับสนุนการฝึกอบรมด้านระบาดวิทยาแก่แพทย์และวิชาชีพอื่น ๆ
  3. ร่วมพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมด้านระบาดวิทยาภาคสนาม ให้สอดคล้องกับความต้องการของ
    ภาคีเครือข่าย หรือหน่วยงาน/องค์กรที่ต้องการบุคลากรด้านระบาดวิทยาภาคสนามในการปฏิบัติงาน
  4. สนับสนุนกิจกรรมด้านระบาดวิทยาภาคสนามแก่คณะฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนาม ที่ลงมาดำเนินงานในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1
  5. ศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี วิชาการและนวัตกรรมด้านการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนาม
  6. ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ และสนับสนุนกิจกรรมเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรค แก่พื้นที่และเครือข่าย
  7. เสริมสร้างสัมพันธภาพของเครือข่ายนักระบาดวิทยาภาคสนาม
  8. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

 

15. กลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
  2. กำหนดและพัฒนามาตรฐาน เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และรูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคและภัย ที่คุกคามสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ในระดับเขต
  3. ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และการสื่อสารสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อน พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน
  4. สนับสนุนและพัฒนาระบบ กลไก และเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคและภัยคุกคามสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
  5. นิเทศ ติดตาม และประเมินมาตรฐานการดำเนินงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
  6. ประสานและสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวัง ป้องกันและ
    ควบคุมโรคและภัยที่คุกคามจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ในเขตรับผิดชอบ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
  7. สนับสนุนและบริการตรวจทางด้านอาชีวอนามัยและด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเครื่องมืออาชีวเวชศาสตร์และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
  8. เป็นศูนย์สนับสนุนฝึกอบรมและศึกษาดูงานของเครือข่ายการทำงานทั้งหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา ด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
  9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 

 

16. งานเภสัชกรรม มีหน้าที่

  1. บริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน
  2. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ด้านเภสัชกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคและ
    ภัยสุขภาพ
  3. ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเภสัชกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคและภัยสุขภาพ
  4. ปฏิบัติงานด้านบริการเภสัชกรรมและการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกพิเศษกามโรค วัณโรค
    เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  5. เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริม สนับสนุนและประสานงาน ด้านวิชาการเภสัชกรรม และการบริหารจัดการระบบส่งกำลังบำรุงด้านเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและ
    ภัยสุขภาพ พร้อมทั้งจัดทำรายงานข้อมูลคลังยาและเวชภัณฑ์ในรูปแบบ Dashboard
  6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย