สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
Responsive image

สคร.7 ขอนแก่น เตือน อาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดมีพิษย้ำ “เห็ด ไม่รู้จัก ไม่แน่ใจ ไม่เก็บ ไม่กิน”

จากการณีที่กรมควบคุมโรค ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษ จากการรับประทานเห็ดมีพิษ พบผู้ป่วย มีจำนวนขึ้นๆลงๆแตกต่างกันในแต่ละปี โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม มักพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น โดยปี 2561 – 2565 มีจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย 2,182 รายต่อปี และข้อมูลวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 - วันที่ 31 สิงหาคม 2565 จำนวน 6 เหตุการณ์ มีผู้ป่วยทั้งหมด 26 ราย เสียชีวิต 2 ราย อุบัติการณ์สามารถพบได้ประปรายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูฝน ซึ่งเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของเห็ดป่า พื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่นิยมชื่นชอบการรับประทานเห็ดป่า จึงมักพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษในทุกๆปี

นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การรับประทานเห็ดพิษในปี 2565 สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์มีอาหารเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของเห็ด ประกอบกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นิยมการรับประทานเห็ดป่า ที่เกิดเองตามธรรมชาติ ซึ่งเห็นที่เกิดเองบางครั้งจะไม่สามารถระบุพื้นที่ที่พบเห็ดพิษได้เฉพาะเจาะจง เนื่องจากสปอร์ของเห็ดสามารถลอยไปตกได้ในหลายพื้นที่ตามแรงลม เมื่อสภาพแวดล้อม อุณหภูมิและแสงสว่างมีความเหมาะสม ทำให้ดอกเห็ดเจริญเติบโต จึงทำให้พบเห็ดพิษกระจายอยู่ทั่วไป  ปัจจัยเสี่ยง ที่เคยเกิดขึ้นมักไม่ทราบข้อมูลสถานที่ หรือชนิดเห็ดอย่างชัดแน่ชัด พบปัจจัยเสี่ยงที่มีความแตกต่างกัน คือ 1.รับประทานเห็ดไม่รู้จัก  2.ไม่ได้ทำการคัดแยกเห็ด 3.มีการรับประทานเห็ดร่วมกับดื่มสุรา 

นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปรียบเทียบลักษณะของเห็ดกินได้และเห็ดพิษ จากลักษณะของเห็ดโดยทั่วไปที่มีรูปร่างและส่วนประกอบคล้ายกัน คือ ส่วนหมวก ครีบและก้าน นอกจากเห็ดบางชนิดที่มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างออกไป ตามความหลากหลายของเห็ดนั้นๆ โดยลักษณะรูปทรง สีสัน ทั้งสังเกตได้จากตาเปล่า เป็นลักษณะที่นำมาใช้จำแนกชนิดของเห็ด แต่การจำแนกชนิดของเห็ดด้วยตาเปล่า ก็มีโอกาสเกิดความผิดพลาดสูง โดยเฉพาะเห็ดในระยะดอกตูม และขอย้ำอีกครั้งว่าเห็ดที่เกิดตามธรรมชาติไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใดที่แน่นนอน ที่สามารถใช้แยกเห็ดกินได้และเห็ดพิษออกจากกัน ดังนั้นจึงควรพิจารณาแต่ละส่วนประกอบของดอกเห็ดอย่างถี่ถ้วน  ไม่ควรแยกหรือระบุชนิดเห็ดโดยการดูเห็ดจากดอกตูม หลีกเลี่ยงการเก็บหรือกินเห็ดที่ไม่รู้จักหรือไม่มั่นใจว่าเป็นเห็ดกินได้หรือกินไม่ได้ หรือเกิดความสงสัยเพียงเล็กน้อย

 

 

******************************

ข้อมูลจาก : กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

วันที่ 5 ตุลาคม 2565


ข่าวสารอื่นๆ