1 มีนาคมของทุกปี เป็นวันยุติการเลือกปฏิบัติสากล
“To protect everyone’s health, protect everyone’s rights: ปกป้องสิทธิ เพื่อปกป้องสุขภาพของทุกคน”
“เยาวชน…ผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อสังคมไม่เลือกปฏิบัติ”
เปิดสถิติ “การตีตราและเลือกปฏิบัติ” ตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นอะไร?
70% พบผู้ให้บริการสุขภาพมีทัศนคติการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี
49.6% ตัดสินใจไม่ไปโรงพยาบาลเนื่องจากตีตราตนเอง
12.8% ถูกเปิดเผยสถานภาพ และความลับเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
9.61% ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีประสบการณ์ถูกเลือกปฏิบัติระหว่างการรับบริการสุขภาพในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
(จากการสำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพ ปี 2564)
.
เยาวชนอายุ 18-24 ปี กับการตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับ HIV
49.3% ตีตราตนเอง
7.5% ถูกละเมิดสิทธิ
9% ถูกเลือกปฏิบัติในชุมชน
(การสำรวจดัชนีตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2566)
“การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่มีอยู่ในสังคม ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินงานยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทย ส่งผลให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์ หลีกเลี่ยงหรือเกิดลังเลในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ไม่ได้รับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี การป้องกัน
และการดูแลรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง รวมทั้งการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต”
สถานบริการสุขภาพ เข้าใจทุกคน ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ
สามารถเรียนรู้ผ่าน S&D E-learning การลดตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพสำหรับนักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาพยาบาล เรียนได้ที่นี่ https://sdelearning-mns.ddc.moph.go.th/
ป้องปกสิทธิ หากถูกละเมิดหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ร้องเรียนผ่านโปรแกรม “สวัสดีปกป้อง”
“เยาวชน…ผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อสังคมไม่เลือกปฏิบัติ”
โพสต์นี้มีพลัง ขอ 1 โพสต์จากเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อยุติการเลือกปฏิบัติ ยุติเอดส์ประเทศไทย
เพียงทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ แสดงเจตนารมณ์ ประสานความร่วมมือ สร้างกระแสสังคม ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
พร้อมติดแฮชแท็ก #ทุกคนเท่ากัน #ไม่เลือกปฏิบัติ #changeforall
ร่วมกิจกรรมได้ตลอดเดือนมีนาคม 2567