กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Responsive image

News&Update by DAS "โรคฝีดาษวานร Mpox เรื่องนี้...ไม่ตระหนก แค่พอตระหนัก"

โรคฝีดาษวานร Mpox เรื่องนี้...ไม่ตระหนก แค่พอตระหนัก

มี 2 สายพันธุ์หลักที่จำแนกตามการศึกษาวิวัฒนาการทางพันธุกรรม

  • Clade I: สายพันธุ์แอฟริกากลาง แถบลุ่มน้ำคองโก (Clade I) อัตราป่วยตายสูงสุด 10% พบการระบาดในกลุ่มประเทศแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออกเป็นหลัก
  • Clade II: สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (Clade II) เป็นสายพันธุ์ที่ความรุนแรงน้อยกว่าและเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2565

วิธีป้องกันโรคฝีดาษวานร Mpox   สำหรับประชาชน

  1. หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด / สัมผัสผู้มีผื่นสงสัย 
  2. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  3. หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม
  4. สวมหน้ากากอนามัย 

8 กลุ่มเสี่ยง อาการรุนแรง 

  1. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.
  2. ผู้ป่วยมะเร็ง เม็ดเลือด
  3. ผู้ป่วยโรคมะเร็ง อวัยวะต่าง ๆ
  4. ผู้ที่ได้รับ การปลูกถ่ายอวัยวะ
  5. ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยสาร/ยา/รังสี ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
  6. ผู้ที่รับการปลูกถ่ายไขกระดูก
    อวัยวะต่าง ๆ
  7. ผู้ป่วยกลุ่มโรคแพ้ภูมิตนเอง ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำโดยเฉพาะเด็ก
  8. เด็ก ที่มีอายุน้อย
    กว่า 8 ปี

คำแนะนำ สำหรับผู้ที่มีประวัติเสี่ยง

  1. สังเกตอาการตนเองทุกวัน หากมีอาการสงสัยให้เข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทันที
  2. รักษาความสะอาดส่วนบุคคล ล้างมือและทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
  3. งดการมีเพศสัมพันธ์ หรือพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก หรือน้ำลาย ระหว่างกัน
  4. งดการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  5. เก็บและจัดการขยะที่อาจปนเปื้อนสารคัดหลั่งของตนเองให้มิดชิด

 

ผู้ที่มีประวัติเสี่ยง สัมผัสใกล้ชิดหรือสัมผัสเสี่ยง กับผู้ป่วย Mpox ขอความร่วมมือ ปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 ข้อ จนกว่าจะครบ 21 วัน หลังเสี่ยง หากพบอาการสงสัยสามารถเข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสอบถามที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 

 


ข่าวสารอื่นๆ