กองโรคไม่ติดต่อ
Responsive image

วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension Day)

วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension Day) ในปี 2567 นี้ สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension League) ได้กำหนดประเด็นการรณรงค์ คือ "Measure Your Blood Pressure Accurately, Control It, Live Longer : วัดความดันอย่างไร สูงเกินไปคุมให้ดี ช่วยยืดชีวีให้ยืนยาว” มุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถวัดความดันโลหิตได้อย่างถูกต้อง สามารถแปลผลความดันโลหิตได้ และทราบวิธีปฏิบัติตัวเมื่อป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงถึงแม้จะไม่มีอาการหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ และไม่ได้รับการรักษา ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นอาจมีอาการแสดงต่างๆ ได้แก่ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น ตาพร่ามัว เป็นลมหมดสติ และเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด และโรคไตเรื้อรัง

 "วันความดันโลหิตสูงโลก "

วิทยากร นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิดตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ผู้ ดำเนินรายการ : ดร.ณิษาพชร์ ประสงค์มงคล

ประเด็นคำถาม

1. “วันความดันโลหิตสูงโลก " มีที่มาและความสำคัญอย่างไร

2. คำขวัญหรือประเด็นการรณรงค์ในปีนี้ เน้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร

3. กิจกรรมการรณรงค์ในปีนี้ มีอะไรบ้าง และประชาชนจะมีส่วนร่วมในการดูแลความดันโลหิตสูงได้อย่างไร

4. สถานการณ์ปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย เป็นอย่างไร

5. อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

6. ปัจจัยเสี่ยงเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วหากไม่ได้รับการดูแลรักษา จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย

และเกิดโรคแทรกซ้อนได้อย่างไร

7. อาการของโรคความดันโลหิตสูง ที่พบบ่อย มีอาการอย่างไร

8. วิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูง มีวิธีการรักษษอย่างไร

9. การใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มีข้อควรระวังหรือมีผลข้างเคียงอย่างไร

พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพอื่นๆ