วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension Day) ในปี 2567 นี้ สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension League) ได้กำหนดประเด็นการรณรงค์ คือ "Measure Your Blood Pressure Accurately, Control It, Live Longer : วัดความดันอย่างไร สูงเกินไปคุมให้ดี ช่วยยืดชีวีให้ยืนยาว” มุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถวัดความดันโลหิตได้อย่างถูกต้อง สามารถแปลผลความดันโลหิตได้ และทราบวิธีปฏิบัติตัวเมื่อป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงถึงแม้จะไม่มีอาการหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ และไม่ได้รับการรักษา ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นอาจมีอาการแสดงต่างๆ ได้แก่ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น ตาพร่ามัว เป็นลมหมดสติ และเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด และโรคไตเรื้อรัง
"วันความดันโลหิตสูงโลก "
วิทยากร นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิดตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ผู้ ดำเนินรายการ : ดร.ณิษาพชร์ ประสงค์มงคล
ประเด็นคำถาม
1. “วันความดันโลหิตสูงโลก " มีที่มาและความสำคัญอย่างไร
2. คำขวัญหรือประเด็นการรณรงค์ในปีนี้ เน้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร
3. กิจกรรมการรณรงค์ในปีนี้ มีอะไรบ้าง และประชาชนจะมีส่วนร่วมในการดูแลความดันโลหิตสูงได้อย่างไร
4. สถานการณ์ปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย เป็นอย่างไร
5. อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
6. ปัจจัยเสี่ยงเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วหากไม่ได้รับการดูแลรักษา จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย
และเกิดโรคแทรกซ้อนได้อย่างไร
7. อาการของโรคความดันโลหิตสูง ที่พบบ่อย มีอาการอย่างไร
8. วิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูง มีวิธีการรักษษอย่างไร
9. การใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มีข้อควรระวังหรือมีผลข้างเคียงอย่างไร