<p>จับตาโรคและภัยสุขภาพ (DDC WATCH) ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562</p> <ul> <li>ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เล็กประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผมมนุษย์ สามารถเข้าสู่ถุงลมปอด ระบบหายใจ กระแสเลือด และอวัยวะต่าง ๆ เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง</li> <li>สาเหตุของ PM<sub>2.5</sub> ได้แก่ การจราจร อุตสาหกรรม การเผาป่า การเผาเศษพืชผลทางการเกษตร และการเผาขยะ เป็นต้น</li> <li>ระหว่างวันที่ 3 สิงหาคม 2561 – 23 กุมภาพันธ์ 2562 จากการเฝ้าระวังและรายงานจากโรงพยาบาลเครือข่ายกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 12 แห่ง (จาก 22 แห่ง) พบว่า มีรายงานผู้ป่วยสะสม 1,370 ราย พบในกลุ่มอายุ 60-69 ปี สูงสุด 242 ราย (75.8%)</li> <li>กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับอันตรายจากการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว (โรคหัวใจ โรคปอด โรคหลอดเลือดสมอง หอบหืด ภูมิแพ้) และผู้ที่มีกิจกรรมภายนอกบ้าน (ตำรวจ คนงานก่อสร้าง ฯลฯ)</li> <li>ร่วมกันทำ ป้องกันได้ : ประชาชน หากต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน 3 – 4 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน ต้องใส่หน้ากากกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น N95, ลดการใช้รถยนต์หรือใช้เท่าที่จำเป็น และติดตามสถานการณ์มลพิษอยู่เสมอ</li> </ul> <p> </p>
ดาวน์โหลดเอกสาร