สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการโครงการพระราชดำริฯ
Responsive image

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ กรมควบคุมโรค

สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันทรงมีพระเมตตาห่วงใยราษฎร และให้ความสำคัญกับงานทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งโดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ และทรงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการต่าง ๆ เพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมควบคุมโรค อาทิ

โครงการสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ภายใต้โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์,  

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคหนอนพยาธิในนักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ถิ่นทุรกันดารและพื้นที่แผนภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,

โครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุม และเสริมสร้างศักยภาพเพื่อกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,

โครงการผลักดันการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ภายใต้ยุทธศาสตร์โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี,

โครงการสนับสนุนพระภารกิจพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถในฐานะทูตสันถวไมตรี เป็นต้น

ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้การพัฒนางานสาธารณสุขตามโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ เป็นนโยบายสำคัญภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข

กรมควบคุมโรคได้พัฒนาและขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค อย่างต่อเนื่อง ผ่านกลไกการดำเนินงานจากหน่วยงานสังกัดกรมควบคุมโรคและประสานความร่วมมือจากหน่วยงานเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ กรมควบคุมโรค จึงจัดทำนิทรรศการการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ตามโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ กรมควบคุมโรค เพื่อให้ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เรียนรู้ เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดการพัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการดูแล ป้องกันควบคุมโรค และมีสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ นิทรรศการในอาคารตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 นิทรรศการในอาคาร ชั้น 7 ได้แก่ โครงการสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ภายใต้โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์,  โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคหนอนพยาธิในนักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ถิ่นทุรกันดารและพื้นที่แผนภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, โครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมและเสริมสร้างศักยภาพเพื่อกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, โครงการผลักดันการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ภายใต้ยุทธศาสตร์โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี, โครงการสนับสนุนพระภารกิจพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถในฐานะทูตสันถวไมตรี เป็นต้น

ส่วนที่ 2 นิทรรศการในอาคาร ชั้น 7 – 8 เกี่ยวกับ 
 2.1 นิทรรศการหลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ที่มา: หนังสือ “พระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา” จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธันวาคม 2554  การทรงงานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเป็นการดำเนินงานในลักษณะ ทางสายกลางที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของ สังคมไทย และสามารถปฏิบัติได้จริง โดย ทรงเน้น “การพัฒนาคน” เป็นตัวตั้ง และยึดหลักผลประโยชน์ของปวงชน และการมีส่วนร่วมตัดสินใจของประชาชน ตลอดจน ภูมิสังคมที่คำนึงถึงความแตกต่างกัน ในแต่ละพื้นที่และการพึ่งตนเอง โดยรู้จักประมาณตนและดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง “ทำตามลำดับขั้น” อย่างบูรณาการ ซึ่งอาศัยความ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และการ “รู้ รัก สามัคคี” ของทุกฝ่าย ส่งผลให้ประชาชนและชุมชนในชนบท ที่ได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ดำเนินการได้อย่างประหยัด และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน อันนำไปสู่ชุมชน และสังคมที่เข้มแข็ง และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข”  


2.2 นิทรรศการโรคโควิด 19 และโรคติดต่อสำคัญที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ และข้อความให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ ในนามมูลนิธิชัยพัฒนา และกองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด 19 ( และโรคระบาดต่าง ๆ )ในฐานะองค์นายกกิตติมศักดิ์และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทรงห่วงใยเรื่องนี้มาก เพราะหากบุคลากรทางการแพทย์ปลอดภัย นั่นหมายถึงการรักษาที่มีความพร้อม ประชาชนจะได้รับการรักษาที่ดี อย่างทั่วถึง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียได้มาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดตั้ง กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ)” เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของที่มีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563 พร้อมพระราชทานพระราชานุมัติให้มูลนิธิชัยพัฒนาใช้งบประมาณจากกองทุนดังกล่าวจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อมอบให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งประดิษฐ์จากการคิดค้นของคนไทยเพื่อคนไทย อาทิ “หุ่นยนต์ปิ่นโต และกระจกระบบสื่อสารทางไกล” อุปกรณ์ลดการสัมผัส ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ติดเชื้อ
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีแรงบันดาลพระทัย จากการโดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร ได้ทรงทราบถึงปัญหาความยากจนและความทุกข์ยากลำบากของประชาชนด้วยพระองค์เอง ได้ทรงพบเด็กที่ขาดอาหาร ควบคู่กับการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ จึงมีโครงการตามพระราชดำริจำนวนมาก และมีแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

  1. กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560 – 2569 การจัดการโรค
    ไข้มาลาเรียอยู่ในวัตถุประสงค์ที่ 1 ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชน
    เริ่มตั้งแต่ในครรภ์ (เป้าหมายที่ 5 ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย และโรคหนอนพยาธิในนักเรียน
    ลงจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข
    )
  2. ในภาวะปกติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปยังโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อทรงติดตามการดำเนินงานโครงการตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ และโครงการสุขศาลาพระราชทาน ให้บริการด้านสุขภาพและการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่ โดยมีครูและพยาบาลคอยให้การดูแลในเบื้องต้นและมีเจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัยเข้ามาประจำทุกวัน เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการและประสานส่งต่อโรงพยาบาลที่มีความเหมาะสมต่อไป
  3. ในสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน
    ในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนฮิลมาร์พาเบิล ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม จังหวัดเลย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์)