จากกรณีเกิดอุบัติเหตุจราจรที่มีแพทย์เพิ่มพูนทักษะ 1 ท่านได้เสียชีวิตไปเมื่อ 5 เดือนก่อน ซึ่งตำแหน่งนี้มีฉายาว่า “ที่เก่า เวลาเดิม” และเคยเกิดอุบัติเหตุตรงนี้มา 2 ครั้งและมีผู้เสียชีวิตมาแล้ว บริเวณนี้คือ บ้านหนองผักแว่น ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี นั้น แพทยสภา นำโดย ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาสนับสนุนการเพิ่มพูนทักษะแพทย์ ตามโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ร่วมกับ นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ปริพนท์ จุลเจิม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี และ แพทย์หญิงมณฑินี วสันติอุปโภคากร ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา กรมควบคุมโรค พร้อมคณะเข้าเยี่ยมแพทย์เพิ่มพูนทักษะ เพื่อหารือเรื่องการปฏิบัติงาน ปัญหาและภาระงานต่าง ๆ ซึ่งมี นายแพทย์นิสิต ศรีสมบูรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ และคณาจารย์ของโรงพยาบาลให้การต้อนรับ ได้ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาและทบทวนการแก้ไขปัญหาการดำเนินการโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะในปีก่อน ซึ่งพบว่า ได้มีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ลุล่วงไปได้ด้วยดีและมีการจ้างแพทย์มาช่วยทำงานเนื่องจากมีภาระงานจากผู้ป่วยที่มารับบริการจำนวนมาก
.
บัดนี้คณะสอบสวนโรคจากสถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา กรมควบคุมโรค ได้จัดทำรายงานสอบสวนอุบัติเหตุรายงานสอบสวนอุบัติเหตุรถเก๋งชนรถกระบะ บริเวณเนิน บ้านหนองผักแว่น ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 22 มิถุนายน 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ของการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ เสียชีวิตและปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บ เสียชีวิต พร้อมเสนอแนวทางการควบคุมป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุในอนาคต
ข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไข
ด้านคน
.
1.ผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ต้องเข้าใจกับเครื่องหมายจราจรโดยละเอียด เนื่องจากเครื่องหมายจราจรต่างๆนั้น มีความสำคัญต่อ
การขับขี่ และความปลอดภัยของผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก
2.ควรมีการให้ความรู้ หรือแจ้งเตือนผู้ขับขี่อยู่เสมอ เรื่องการง่วงไม่ขับ เช่น บอกถึงโทษของการขับขี่โดยขาดสติ สัมปชัญญะ ให้
ความรู้ที่ถูกต้องในการเตรียมตัวเองให้พร้อมเมื่อต้องขับขี่รถ และความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่างๆบนท้องถนน เช่น ให้ ความรู้ด้านการใช้รถใช้ถนน แก่แพทย์เพิ่มพูนทักษะ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
3.สถาบันแพทย์ ควรมีมาตรการในการประเมินบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องของการพักผ่อน จัดและปรับตารางการทำงาน
ของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการเหนื่อยล้า
4. ผู้ขับขี่ควรประเมินตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลความพร้อมของร่ายกาย โดยเฉพาะก่อนการขับรถในถนนที่ไม่เคยขับ
และมีระยะเวลาการเดินทางมากกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป
ด้านยานพาหนะ
.
1.ผู้ขับขี่ควรจะต้องตรวจเช็ค ดูแลความพร้อมของรถเป็นระยะๆ รวมทั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่างๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เช่น ระบบเบรก เกียร์ ยาง ล้อ เข็มขัดนิรภัย ระยะน้ำมันเครื่อง ก่อนการเดินทางในทุกๆ ครั้ง
2.มีด่านตรวจบริเวณเส้นทางระหว่างอำเภอสู่อำเภอ เป็นระยะๆ เช่น การสุ่มตรวจการคาดเข็มขัดนิรภัย ความพร้อมของคนขับรถ เป็นต้น
ด้านถนนและสิ่งแวดล้อม
.
1. ถนนบริเวณเส้นทางจราจรทางหลวงปลักประดู่ – ม่วงเฒ่าฯ หรือ อำเภอ สู่อำเภอต่างๆ ต้องมีการเช็คสภาพท้องถนน เป็น
ระยะๆ ทั้งก่อน ระหว่าง และการแก้ไขความปลอดภัยถนน (Road safety audit) รวมถึงถ้ามีปัญหาควรรีบแก้ไข เพื่อความ
ปลอดภัยบนท้องถนนของผู้ขับขี่
2. ควรมีการติดไฟถนนขนาบ 2 ข้างทาง เนื่องจากขณะนี้เส้นทางดังกล่าวจะมืดสนิทในเวลากลางคืน เพราะไฟถนนขนาบข้าง
ทำให้วิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่ลดลง เป็นสาเหตุให้เพิ่มอันตรายบนท้องถนนมากขึ้น
3. นำผลการศึกษาจากการสอบสวนอุบัติเหตุไปมอบแก่กรมทางหลวงชนบท เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่อไป
4. ขณะไปสอบสวนอุบัติเหตุ พบว่า ได้มีการตีเส้นถนนและไหล่ทาง รวมถึงปรับผิวถนนแล้ว ทำระดับความปลอดภัยของถนนเพิ่มขึ้นเป็น 2 ดาว ทั้งนี้ ทางคณะสอบสวนฯ ได้หารือกับตัวแทนของกรมทางหลวง ซึ่งเป็นเจ้าของถนน ในการจัดการความปลอดภัยให้เพิ่มขึ้นต่อไป เช่น การทำเส้นชะลอความเร็ว การขยายถนน ฯลฯ โดยจะมีการปรึกษากับฝ่ายออกแบบถนนอีกครั้ง
.
ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลของการเรียนรู้การขับรถในถนนหนทางที่ไม่คุ้นเคยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ฝึกหัด แพทย์เพิ่มพูนทักษะ และแพทย์ประจำบ้าน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดต่างๆ ให้คำนึงถึงการศึกษาเส้นทาง สิ่งแวดล้อมและเครื่องหมายจราจรโดยละเอียด และประเมินสภาพถนนก่อนเดินทาง ให้การขับขี่เป็นไปอย่างปลอดภัยในการขับรถในถนนในส่วนภูมิภาค เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุการจราจรต่อไป