สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
Responsive image

แผนแม่บทด้านการป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองปี 2561-2564

      ประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตของประชากรเขตเมืองเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีจานวนประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 66 ล้านคน ร้อยละ 50 ของประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมือง โดยคาดประมาณว่าอีก 30 ปีข้างหน้าเขตเมืองจะเติบโตขึ้น ประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 67 หรือสองในสามของประชากรทั้งประเทศ เขตเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และด้านประชากร มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น หลากหลายทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ มีความแตกต่างทางเศรษฐานะ ความเหลื่อมล้าทางรายได้ โอกาสการเข้าถึงทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งยังมีประชากรเคลื่อนย้ายเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่พักอาศัยมีความหลากหลายยากต่อการเข้าถึง ได้แก่ อาคารชุด ห้องเช่า บ้านจัดสรร ชุมชนย้ายถิ่น ชุมชนแออัด วิถีการดารงชีวิตและอาชีพที่หลากหลาย พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบจากการเดินทางที่ต้องใช้เวลามากจากการจราจรที่หนาแน่น การบริโภคปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ มีเวลาออกกาลังกายน้อยเพราะมุ่งทางาน เกิดภาวะอ้วนและความเคร่งเครียด รวมถึงปัญหาเชิงสังคม เช่น ปัญหาของวัยรุ่น ปัญหาอุบัติเหตุ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งหลอดลมและปอด การติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และมะเร็งตับ รวมทั้งสังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ความเป็นเมือง กระแสโลกาภิวัตน์ และรูปแบบการดาเนินชีวิตเปลี่ยนไป นอกจากนี้บริบทของเขตเมืองยังมีความหลากหลายของหน่วยงานหรือหุ้นส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรอิสระ ภาคประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพของประชาชนในเขตเมือง ซึ่งมีทุนในการพัฒนาระบบสุขภาพเป็นจานวนมาก ได้แก่ ทุนทรัพยากร ทุนวิชาการ และทุนเครือข่าย แต่ยังขาดความเชื่อมโยงและการบูรณาการซึ่งกันและกัน ทั้งด้านข้อมูลสุขภาพและทรัพยากรต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังแยกกันทาในภารกิจของตน ไม่มีการประสานระหว่างองค์กรให้มีการบูรณาการเชิงระบบมากนัก
      กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสาคัญให้มีการจัดทาแผนแม่บทด้านการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง พ.ศ. 2561–2564 ตอบสนองสู่ประเทศไทย 4.0 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เป็นเครื่องมือเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นาไปใช้เป็นกรอบการดาเนินงานอย่างสอดประสานในทิศทางเดียวกัน มีการเชื่อมโยงและบูรณาการเชิงระบบ ทาให้ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศชาติได้

ดาวน์โหลดเอกสาร
วารสารออนไลน์อื่นๆ