สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
Responsive image

สปคม. เสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายเจ้าหน้าที่.LAB กทม. จัดระบบและทำแนวทางส่งต่อการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(LAB) กรณีโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2563) ณ ห้องประชุมชั้น 3 สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

...นายแพทย์เอนก มุ่งอ้อมกลาง ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ประธานเปิดการประชุมหารือในการจัดทำแนวทางส่งต่อการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ระหว่างเครือข่ายห้องปฏิบัติการในกรุงเทพมหานคร

…ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ของโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัย  กรุงเทพมหานคร ภาคเอกชนและภาครัฐ ดังนี้ ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, ผศ.ดร.นาวิน ห่อทองคำ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,  ผศ.นพ.เอกพันธ์ โกวิทย์ดำรงค์ ภาควิชาจุลชีววิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, อาจารย์มาลินี จิตตกานพิชย์ รักษาการผู้ทรงคุณวุฒิฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, พญ.สุภาพร กรลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร,  โรงพยาบาลวชิรพยาบาล มหาวิทยานวมินทราธิราช, โรงพยาบาลลาดกระบัง, โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลตากสิน, โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, โรงพยาบาลราชวิถี, สถาบันประสาทวิทยา, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน, โรงพยาบาลซีจีเอช, นวมินทร์โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่, โรงพยาบาลนวมินทร์ 1, โรงพยาบาลนวมินทร์ 9, โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, โรงพยาบาลบางปะกอก 1, โรงพยาบาลเปาโล รังสิต, โรงพยาบาลเปาโล เกษตร, โรงพยาบาลเพชรเกษม 2, โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ, โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ, โรงพยาบาลวิภาวดี, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ, โรงพยาบาลเวชธานี, โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์, โรงพยาบาลสวนเบญจกิติ เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา, โรงพยาบาลหัวเฉียว, โรงพยาบาลไทยนครินทร์  และทีมเจ้าหน้าที่ สปคม. รวมจำนวนทั้งสิ้น 59 คน
 
…การประชุมดังกล่าว เป็นการพิจารณาหารือแนวทางในการส่ง LAB 2019-nCoV ระหว่างเครือข่ายห้องปฏิบัติการในกรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์มาลินี จิตตกานต์พิชย์ รักษาการผู้ทรงคุณวุฒิฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นผู้บรรยาย

…สถานการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ทางการจีนรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 31,161 ราย อาการรุนแรง 4,821 ราย เสียชีวิต 636 ราย และพบผู้ป่วยยืนยันนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ จำนวน 267 ราย ในประเทศไทย 25 ราย รวมมีผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวน 31,428 ราย ขณะนี้มีหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยืนยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีน แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค

...วิธีป้องกันตนเองของนักเดินทาง ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
• แนะนำประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่
• ระหว่างเดินทางในต่างประเทศขอให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอจาม สวมใส่หน้ากากอนามัย
• หลีกเลี่ยงการเข้าไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิต การสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์
• หลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น
• เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก ทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ และผัก
• หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำ และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
• ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น (เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว) เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
• รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทย ภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้
• หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม : เอกสาร

ข่าวสารอื่นๆ