100 กิโลกรัม) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และสตรีมีครรภ์ ที่สำคัญ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มาเยือนเราได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน การออกไปพบปะผู้คนนอกบ้าน หรืออยู่ตามสถานที่แออัด มักเป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อ ซึ่งบางทีเราก็หลีกเลี่ยงได้ยาก ในเมื่อเลี่ยงไม่ได้แบบนี้ เราจะต้องดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่และรับเชื้อไข้หวัดใหญ่ การป้องกันทำได้ง่ายๆ ด้วยการ “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ปิด ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ หรือจาม ล้าง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ เลี่ยง หลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หยุด เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัดกรมควบคุมโรคห่วงใย อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดีอ้างอิงข้อมูล โดย กลุ่มโรคติดต่อ สคร.6 ชลบุรี /กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค " />
สถานการณ์การณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ภาพประเทศ ตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึง 3 ส.ค. 2567 พบผู้ป่วยจำนวน 317,505 คน พบผู้เสียชีวิต จำนวน 23 ราย สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่พื้นที่เขตสุขภภาพที่ 6 หรือภาคตะวันออก ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 3 ส.ค.2567 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 53,879 คน ผู้เสียชีวิต 2 คน อัตราป่วยตายร้อยละ 0.01 ซึ่งตัวเลขผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ปี 2567 มากกว่าปี 2566 ถึง 5.94 เท่า (ข้อมูลในช่วงเวลาเดียวกัน) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 0 - 14 ปี สถานที่ที่เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ส่วนใหญ่ จะเป็นสถานศึกษา เราจะพบการระบาดของโรคประจำฤดูกาลในช่วง
ฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม – มีนาคม) ของทุกปี
การแพร่เชื้อติดต่อ เบื้องต้นสามารถสังเกตได้ ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ การแพร่เชื้อติดต่อ แพร่กระจายโดยการสัมผัสละอองฝอยจากการไอ และการจามของผู้ป่วย เชื้อไวรัสจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก และน้ำลาย โดยบางรายอาการจะเริ่มหลังได้รับเชื้อ 1 - 4 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้แบบทันทีทันใด อาการ จะมีไข้สูงเฉียบพลัน เช่น ตอนเช้ายังมีอาการปกติ พอตกบ่ายมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อตามตัวและกล้ามเนื้อมาก น้ำมูกใส คัดจมูก เจ็บคอ ไอแห้ง ท้องเสียและอาเจียน หากมีอาการเหล่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
อาการโรคไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการที่คล้ายไข้หวัด แต่จะมีอาการรุนแรงมากกว่า และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือทำให้ผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนทั่วๆ ไปของโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบได้บ่อย ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ส่วนภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พบได้มาก ได้แก่ โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม ดังนั้นไข้หวัดใหญ่จึงไม่ใช่แค่อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ทุกคนจะรอให้หายเองได้ หากแต่ผู้ป่วยต้องสังเกตอาการของตนเองและควรรีบพบแพทย์ ซึ่งโรคนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงและเสี่ยงเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคปอดหรือถุงลมโป่งพองอยู่แล้ว จะเสี่ยงเพิ่มขึ้น 100 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ
กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวัง ได้แก่ เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ผู้มีโรคเรื้อรัง บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) โรคอ้วน (น้ำหนัก>100 กิโลกรัม) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และสตรีมีครรภ์ ที่สำคัญ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มาเยือนเราได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน การออกไปพบปะผู้คนนอกบ้าน หรืออยู่ตามสถานที่แออัด มักเป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อ ซึ่งบางทีเราก็หลีกเลี่ยงได้ยาก ในเมื่อเลี่ยงไม่ได้แบบนี้ เราจะต้องดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่และรับเชื้อไข้หวัดใหญ่
การป้องกันทำได้ง่ายๆ ด้วยการ “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ปิด ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ หรือจาม ล้าง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ เลี่ยง หลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หยุด เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด
กรมควบคุมโรคห่วงใย อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี
อ้างอิงข้อมูล โดย กลุ่มโรคติดต่อ สคร.6 ชลบุรี /กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค