สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ
Responsive image

ร่างปฏิญญาฮานาว่าด้วยความท้าทายในปัจจุบันต่อการพัฒนา:บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

ร่างปฏิญญาฮานาว่าด้วยความท้าทายในปัจจุบันต่อการพัฒนา:บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
(Havana Declaration on current Development Challenges:the Role of Science, Technology and Innovation)

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ ขอเสนอร่างปฏิญญาฮานาว่าด้วยความท้าทายในปัจจุบันต่อการพัฒนา: บทบาทของวิทยาศาตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและขอความเห็นชอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถูกผลักดันโดยประเทศจีน

การประชุม(ร่าง) ปฏิญญาฮาวานา ว่าด้วย “ความท้าทายในปัจจุบันต่อการพัฒนา: บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน พ.ศ.2566 ณ กรุงฮาวานา สาธารณรัฐคิวบา เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำกลุ่ม 77 (ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 โดยประเทศกำลังพัฒนา 77 [ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 134 ประเทศ](https://worldpopulationreview.com/country-rankings/group-of-77) และจีน ในการเน้นย้ำบทบาทสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ต่อการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับความท้าทายในปัจจุบัน ส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงการระดมทุนเพื่อการพัฒนาการใช้ความช่วยเหลือทางการเงิน และการถ่ายเทคโนโลยี ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเเจ้งว่าให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก

จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา ในด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการป้องกัน เตรียมความพร้อม และรับมือกับโรคระบาดและภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขอื่นๆ โดยคำนึงถึงบทเรียนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ผ่านมา รวมทั้งการให้ความสำคัญของงานวิจัย การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสุขภาพของมนุษย์ โดยคำนึงถึงการเพิ่มจำนวนของโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

การดำเนินการยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบ และมาตรการต่างๆที่บีบบังคับ ต่อประเทศที่กำลังพัฒนา ในด้านสิทธิมนุษยชน ให้มีสิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพ อุปกรณ์และความช่วยด้านมนุษยธรรมที่เหมาะสม

การส่งเสริมงานวิจัย การพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จำเป็นและการเข้าถึงเทคโนโลยี ในด้านอาหารและโภชนาการสุขภาพน้ำและสุขภาพอนามัย ให้คลอบคลุมและเท่าเทียม มีสุขภาวะที่ดี และพัฒนาอย่างยั่งยืน

การเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศ ดำเนินการ รวมถึงสนับสนุนเงินทุน การสร้างระบบสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึงมาตรการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ในการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโรค ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

กระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาดังกล่าว เนื่องจากเป็นการแสดงถึงเจตนารมณ์ของประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน**ด้านการป้องกัน การเตรียมความพร้อม และรับมือกับโรคระบาด กรณีเกิดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข** ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาความเห็นต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

เอกสารเพิ่มเติม https://bit.ly/46Xw3GW


ข่าวสารอื่นๆ