สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ
Responsive image

OIC เดินหน้าพัฒนางานสาธารณสุขชายแดน เสริมสร้างความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศ

วันนี้ (27 มีนาคม 2568) ณ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค (OICDDC) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการแลกเปลี่ยนข้อมูล และเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายความมั่นคงสุขภาพโลกพื้นที่จังหวัดชายแดน โดยมีแพทย์หญิงจุไร วงศ์สวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ผู้เเทนอธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยเเพทย์หญิงสุชาดา เจียมศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมด้่วยเครือข่ายจากภาค สาธารณสุข ความมั่นคง การต่างประเทศ เเละองค์กรไม่เเสวงหาผลกำไรกว่า 100 คนจากทั่วประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค และร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปสู่การพัฒนางานสาธารณสุขชายแดนให้มีประสิทธิภาพ

แพทย์หญิงจุไร วงศ์สวัสดิ์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการพัฒนางานสาธารณสุขชายแดน โดยดำเนินการตามแผนแม่บทการแก้ปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุขชายแดน และแผนปฏิบัติการสาธารณสุขชายแดน พ.ศ. 2565 – 2570 เพื่อเป็นกรอบแนวทางสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนและดำเนินงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพ การประชุมครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือหลายภาคส่วนเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขชายแดนให้เข้มแข็ง ตอบสนองต่อความท้าทายด้านสุขภาพ และยกระดับความมั่นคงด้านสุขภาพของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

เเพทย์หญิงสุชาดา เจียมศิริ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2564 กรมควบคุมโรค โดยสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพและกลไกการดำเนินงานของจังหวัดชายแดนให้ครอบคลุมทั้ง 24 จังหวัด ภายในปี 2568 เพื่อรองรับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค รวมถึงภัยสุขภาพ ภายใต้กรอบวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของ

คุณคณิตา ทรัพย์ไพศาล นักการทูตชำนาญการพิเศษ กรมองค์การระหว่างประเทศ กล่าวถึงนโยบายของประเทษศมหาอำนาจที่มีการเปลี่ยนแปลงเเละมีผลกระทบต่อในการบริหารจัดการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติและกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ชายแดน โดยเห็นได้ชัดจาการตัดงบประมาณต่างๆ ซึ่งไทยเป็นประเทศผู้รับเงินสนับสนุนก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเน้นย้ำถึงการเตรียมความพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต โดยชี้ให้เห็นถึงจำนวนแรงงานข้ามชาติที่เพิ่มขึ้น และความจำเป็นในการปรับปรุงระบบบริการสุขภาพให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม

ดร.สุรสักย์ ธไนศวรรยางกูร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (HSRI) กล่าวว่า สถาบันฯมีบทบาทเป็นศูนย์กลางประสานงานภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาพประชากรข้ามพรมแดน (CCSH) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเน้นการบูรณาการด้านเศรษฐกิจ การบริหารจัดการ และความมั่นคงในการพัฒนาสุขภาพชายแดน ทั้งนี้ ประเทศไทยยังได้ทำงานร่วมกับมาเลเซีย ลาว และกัมพูชาในการพัฒนานโยบายสุขภาพและการระดมทุนสำหรับการพัฒนาสุขภาพข้ามพรมแดน โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในการเสวนาคือ การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชากรที่ไม่มีเอกสารแสดงตน การจัดสรรทรัพยากร และการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน ผู้แทนได้เสนอแนวทางสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การเสริมสร้างระบบสุขภาพชายแดน การปรับปรุงความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดการด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ การบริหารจัดการงบประมาณ และการแบ่งปันองค์ความรู้

อุไรวรรณ กูร์โตด์ นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวถึงบทบาทของไทยในเวทีสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรของภาครัฐในการพัฒนาโครงการสุขภาพข้ามพรมแดน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งประชาชนไทยและแรงงานข้ามชาติ ไม่ว่าจะมีสถานะทางกฎหมายอย่างไร ทั้งนี้ ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา ลาว และกัมพูชา จำเป็นต้องคำนึงถึงความพร้อมและบริบทของแต่ละประเทศก่อนดำเนินโครงการ

สุดท้าย สพญ.ดาริกา กิ่งเนตร ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการบริหารจัดการความร่วมมือด้านสาธารณสุขให้มีความยั่งยืน โดยเน้นให้ภาคีในพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลประชากรข้ามพรมแดน พร้อมขอบคุณเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทาย แต่การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศและการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาระบบสาธารณสุขข้ามพรมแดนของไทยให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง


ข่าวสารอื่นๆ