กองโรคติดต่อทั่วไป
Responsive image

Q&A Covid 19

ข้อคำถามที่พบบ่อย

Q: คำแนะนำในการปฏิบัติตนของผู้รับวัคซีน โควิด 19

A: การเตรียมตัวก่อนรับวัคซีนโควิด 19 มีอะไรบ้าง

ตอบ ปฏิบัติตัวตามปรกติ พักผ่อนให้เพียงพอ กินยาประจำได้ตามปรกติ ทำจิตใจให้ไม่เครียดหรือวิตกกังวล
หากเจ็บป่วยไม่สบายควรเลื่อนการฉีดไปก่อน

A: ก่อนฉีดวัคซีนจำเป็นต้องดื่มน้ำมาก ๆ หรือไม่

ตอบ ไม่จำเป็น

A: ก่อนฉีดวัคซีน จำเป็นต้อง งดดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอลล์ หรืองดการออกกำลังหรือไม่

ตอบ ไม่จำเป็นต้องงดชา กาแฟ แต่ควรงดเครื่องดื่มมืนเมา ส่วนการออกกำลังกายสามารถทำได้ตามปกติผู้รับวัคซีนโควิด 19 หลังรับวัคซีน สามารถรับประทานยาลดไข้ แก้ปวด ได้หรือไม่

ตอบ รับประทานได้ โดยยาลดไข้ที่ปลอดภัยที่สุดคือ พาราเซตามอล ภายในขนาดที่กำหนด

Q: สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด 19 มาก่อน ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโควิด 19 หรือไม่

A: ตอบ สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด 19 มาก่อน แม้จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ในร่างกายแต่ยัง
มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ ดังนั้นจึงควรได้รับวัคซีนโควิด 19 เสมอแม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด19 มาก่อนก็ตามโดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้อไปอย่างน้อย 3 เดือน ไม่จำเป็นต้องตรวจการติดเชื้อก่อนฉีดวัคซีน เพราะแม้จะเคยเป็นมาก่อน ก็ไม่ทำให้มีอันตรายจากการฉีดวัคซีน โดยอาจพิจารณาให้ฉีดเพียง 1 เข็ม เพราะจะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
ได้ดีมากอย่างเพียงพอ

Q: อาการข้างเคียงที่เกิดจากการรับวัคซีน

A: หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 จะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ตอบ จากการศึกษาวิจัยวัคซีนโควิด 19 แต่ละชนิด มักพบเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัคซีนเหล่านี้จะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ว่ามีความปลอดภัยและให้ใช้ได้แล้วก็ตาม แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ก็ยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ในอัตราที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาทีในสถานพยาบาลหรือสถานที่ฉีดวัคซีนเสมอและเนื่องจากวัคซีนโควิด 19 เป็นวัคซีนใหม่และยังไม่มีข้อมูลการติดตามผลในระยะยาว หากผู้รับวัคซีนเกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือไม่มั่นใจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากวัคซีนหรือไม่ ควรแนะนำให้ผู้รับวัคซีนปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและเกิดขึ้นในช่วง 4 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน (Adverse event following immunization)

Q: การฉีดวัคซีนโควิด 19 ในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ

A: 1. บุคคลกลุ่มใดบ้างที่ควรได้รับวัคซีนโควิด 19

ตอบ รัฐบาลได้มีนโยบายให้ประชากรทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย (ทั้งคนไทยและต่างชาติ) ได้รับวัคซีนโควิด 19 อย่างทั่วถึง โดยตั้งเป้าหมายครอบคลุมร้อยละ 70 ของประชากร ภายในปี พ.ศ.2564 แต่ในช่วงที่มีจำนวนวัคซีนจำกัด อาจกำหนดให้วัคซีนในบุคคลกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหรือมีภาวะที่จะเป็นโรครุนแรงก่อน ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรังระยะ 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดรังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยจิตเวช ออทิสติก
ผู้ที่ดูแลตัวเองไม่ได้รวมถึงผู้ดูแลผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด 19 เช่น อสม./อสต. ทหาร ตำรวจ จะต้องคัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศและในพื้นที่ที่มีการระบาดประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่กำลังมีการระบาด

2. ระยะห่างของวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 และ 2 นานที่สุดเป็นเท่าใด และในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนครั้งที่ 2 เกินกำหนดระยะห่างจากครั้งที่ 1 มากกว่า 4 สัปดาห์ ควรดำเนินการอย่างไร

ตอบ ระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และ 2 ของวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac คือ 2-4 สัปดาห์ สำหรับวัคซีนของบริษัท AstraZeneca คือ 10-12 สัปดาห์ และพิจารณาให้เลื่อนได้ถึง 16 สัปดาห์ถ้าจำเป็น หากกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนล่าช้า ขอให้เจ้าหน้าที่ติดตามให้กลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนโควิด 19 ในครั้งที่ 2 โดยเร็วที่สุด ไม่จำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่ สามารถนับต่อเนื่องได้เลย

 

Q: ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รับประทานยาและมีอาการคงที่ หลังฉีดวัคซีนมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ ความดันสูง สูงขึ้นกว่าปกติและมีอาการชาที่ใบหน้าข้างขวาเล็กน้อย สามารถให้วัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 2 ได้หรือไม่

A: ตอบ ควรให้วัคซีนเข็มที่ 2 แต่ควรเปลี่ยนชนิดของวัคซีนหากมีปฏิกิริยามากในเข็มแรก

Q: ในกรณีที่ผู้รับวัคซีนของบริษัท Sinovac ครั้งที่ 1 มีอาการชาแขนขา หรืออ่อนแรงด้านที่ฉีดวัคซีน สามารถรับวัคซีนของบริษัท Sinovac ในครั้งที่ 2 ได้หรือไม่

A: อาการชา อ่อนแรง หรืออาการคล้ายอาการของระบบประสาทอื่น ๆ ที่เป็นอาการชั่วคราว ไม่มีพยาธิสภาพเกิดขึ้น และหายเป็นปกติ อาการเหล่านี้ไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีนเดิมในเข็มที่ 2 แต่หากมีอาการรุนแรงและกังวลควรเปลี่ยนชนิดของวัคซีนในเข็มที่ 2

Q: ในกรณีที่ผู้รับวัคซีนของบริษัท AstraZeneca มีอาการแพ้วัคซีน และมีอายุเกิน 60 ปี จะสามารถฉีดวัคซีนของ

A: บริษัท Sinovac ได้หรือไม่ และควรเว้นช่วงห่างเท่าไร

สามารถให้วัคซีนของบริษัท Sinovac แทนได้ โดยเว้นช่วงห่าง 10-16 สัปดาห์ (ตามระยะห่างของ วัคซีนของบริษัท AstraZeneca เข็ม 1 และ เข็ม 2)  การเว้นช่วงห่างระหว่างวัคซีนเข็ม 2 จากวัคซีนเข็ม 1 ในกรณีเปลี่ยนชนิดของวัคซีนให้พิจารณาตามชนิดของวัคซีนที่ฉีดเป็นเข็มที่ 1 เป็นหลัก

Q: ระยะห่างของวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 และ 2 นานที่สุดเป็นเท่าใด และในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนครั้งที่ 2 เกินกำหนดระยะห่างจากครั้งที่ 1 มากกว่า 4 สัปดาห์ ควรดำเนินการอย่างไร

A: ระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และ 2 ของวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac คือ 2-4 สัปดาห์ สำหรับวัคซีนของบริษัท AstraZeneca คือ 10-12 สัปดาห์ และพิจารณาให้เลื่อนได้ถึง 16 สัปดาห์ถ้าจำเป็น หากกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนล่าช้า ขอให้เจ้าหน้าที่ติดตามให้กลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนโควิด 19 ในครั้งที่ 2 โดยเร็วที่สุด ไม่จำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่ สามารถนับต่อเนื่องได้เลย

Q: ผู้มีประจำเดือนสามารถรับวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม่

A: การมีประจำเดือนไม่เป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนโควิด 19

Q: มีปัญหาลงทะเบียนหมอพร้อมของโรงพยาบาลโทรติดต่อใครได้บ้าง

A: หากมีข้อสงสัยเรื่องการใช้ “หมอพร้อม” สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ประสานงานข้อมูลหมอพร้อม (MOHPROMT Contact Center) หมายเลขโทรศัพท์ 0-2792-2333

Q: มีข้อห้ามและข้อควรระวังอะไรบ้างในการฉีดวัคซีนโควิด 19

A: ตอบ วัคซีนทุกชนิดมีข้อห้ามคือ แพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนและเนื่องจากวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนใหม่จึงอาจไม่มีความรู้ในเรื่องปฏิกิริยาการแพ้ที่พบไม่บ่อย ในช่วงแรกจึงควรฉีดวัคซีนเหล่านี้ในสถานพยาบาลหรือสถานที่ ที่ให้การช่วยเหลือกรณีมีปฏิกิริยารุนแรง และควรเฝ้าระวังอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที ควรใช้วัคซีนแก่กลุ่มประชากรตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำเท่านั้น

นอกจากนี้ ไม่ควรฉีดวัคซีนในกรณีดังนี้

  • ขณะที่กำลังป่วย หรือร่างกายอ่อนเพลียจากสาเหตุต่าง ๆ ควรเลื่อนการฉีดไปก่อนจนกว่าจะเป็นปกติแล้ว
  • ในกลุ่มอายุที่ไม่ได้รับการรับรอง
  • ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (แต่ฉีดในหญิงหลังคลอดหรือให้นมบุตรได้)
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่รุนแรงที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตที่อาการยังไม่คงที่ มีโรคกำเริบ นอกจากแพทย์ประจำประเมินว่าฉีดได้

Q: ถ้าฉีดวัคซีนแล้วพบว่าตั้งครรภ์จะทำอย่างไร

A: ไม่ต้องยุติการตั้งครรภ์ เมื่อพบว่าตั้งครรภ์ภายหลังฉีดวัคซีน เพราะการศึกษาที่มีบ่งชี้ว่า วัคซีนไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 2 ได้ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

Q: ฉีดวัคซีนแล้วต้องคุมกำเนิดนานเท่าไหร่หลังฉีดวัคซีนจึงจะตั้งครรภ์ได้

A: ไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิด สามารถตั้งครรภ์ หลังฉีดวัคซีนโควิด 19

Q: หญิงให้นมบุตร สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม่

A: หญิงให้นมบุตร สามารถรับวัคซีนโควิด 19 ได้ทุกชนิดที่มีในขณะนี้ ไม่จำเป็นต้องงดนมแม่หลังฉีดวัคซีน

Q: หญิงตั้งครรภ์ สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม่

A: ตอบ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ สามารถรับวัคซีนโควิด 19 ได้ทุกชนิดที่มีในขณะนี้ เมื่อมีอายุครรภ์ มากกว่า 12 สัปดาห์ เป็นต้นไป

Q: วัคซีนโควิด 19 ต่างชนิด/ยี่ห้อ สามารถฉีดสลับกัน (Interchangeable) ได้หรือไม่

A: ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่มีคำแนะนำอย่างเป็นทางการให้ฉีดวัคซีนสลับชนิด ทั้งนี้ หน่วยงานสาธารณสุขของแต่ละประเทศสามารถพิจารณาตามผลการศึกษา ซึ่งประเทศไทยมีการศึกษาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (ไบโอเทค) พบว่า การฉีดวัคซีน Sinovac เป็นเข็มที่ 1 และฉีดวัคซีน AstraZeneca เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงได้เร็วมากขึ้น โดยสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีใกล้เคียงกับ AstraZeneca 2 เข็ม ซึ่งคาดว่าจะมีผลดีต่อการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตา และไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีน ดังนั้น จึงสามารถให้ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 ด้วยวัคซีน Sinovac และเข็มที่ 2 ด้วยวัคซีน AstraZeneca โดยมีระยะห่างระหว่างเข็ม 3 – 4 สัปดาห์ ซึ่งสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูง ใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca จำนวน 2 เข็ม

Q: สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด 19 มาก่อน ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโควิด 19 หรือไม่

A: สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด 19 มาก่อน แม้จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ในร่างกาย แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ครั้งต่อไปและยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้       ดังนั้นจึงควรได้รับวัคซีนโควิด 19 เสมอแม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด 19 มาก่อนก็ตาม โดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้อไปอย่างน้อย 3-6 เดือน ไม่จำเป็นต้องตรวจการติดเชื้อก่อนฉีดวัคซีน เพราะแม้จะเคยเป็นมาก่อน ก็ไม่ทำให้มีอันตรายจากการฉีดวัคซีน โดยอาจพิจารณาให้ฉีดเพียง 1 เข็ม

Q: หากฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้ว แต่มาทราบภายหลังว่าเพิ่งได้รับวัคซีนอื่นไปก่อนหน้านี้ภายในช่วง 14 วันที่ผ่านมา ต้องทำอย่างไร

A: ไม่ต้องให้วัคซีนซ้ำหรือให้การรักษาใดๆ แต่ให้สังเกตอาการ และนับต่อเนื่องไปเลย

Q: สามารถฉีดวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก วัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน พร้อมกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในคราวเดียวกันได้หรือไม่ หากไม่สามารถให้พร้อมกันได้ ควรเว้นระยะห่างนานเท่าไหร่

A: เนื่องจากวัคซีนโควิด 19 เป็นวัคซีนที่ผลิตออกมาไม่นาน และยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการให้วัคซีนนี้ควบคู่กับวัคซีนอื่น จึงแนะนำให้เว้นระยะระหว่างวัคซีนโควิด 19 และวัคซีนชนิดอื่นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีนพร้อมกัน และเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนการตอบสนองต่อวัคซีนที่ฉีดตามมา โดยให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ก่อนวัคซีนอื่น ๆ อย่างไรก็ดีวัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้าเมื่อถูกสัตว์กัด หรือวัคซีนบาดทะยักเมื่อมีบาดแผล ให้ฉีดวัคซีนได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลา และในกรณีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 ให้ฉีดวัคซีนทันทีที่ทำได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะห่าง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงซึ่งต้องคำนึงถึงมากกว่า

Q: หากเคยฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ยังต้องมีการฉีดซ้ำเหมือนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อีกหรือไม่

A: ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลวัคซีนโควิด 19 ต่อระดับภูมิคุ้มกันโรคในระยะยาว จึงยังไม่มีคำแนะนำในขณะนี้

Q: วัคซีนฉีดแล้วสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่

A: วัคซีนที่ผลิตในปัจจุบันพัฒนามาจากไวรัสที่ระบาดในช่วงแรก จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพ ในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ลดลง อย่างไรก็ดีผลกระทบของไวรัสกลายพันธุ์ต่อประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละชนิดจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไป อาจเป็นไปได้ว่าต้องมีการฉีดวัคซีนต่อไวรัสที่กลายพันธุ์ซ้ำในอนาคต

Q: เมื่อฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้เมื่อเป็นโรคมีอาการรุนแรงน้อยลงหรือไม่

A: วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่ป้องกันโรครุนแรงได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากได้ ดังนั้นหลังฉีดวัคซีนจึงยังจำเป็นต้องรักษามาตรการในการป้องกันเชื้อในชุมชน ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางกายภาพ หลีกเลี่ยงการไปยังที่ที่มีคนหนาแน่น และล้างมือบ่อย ๆ ต่อไปอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะมีความมั่นใจว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะมีภูมิคุ้มกันโรคแล้ว จึงจะสามารถลดหย่อนมาตรการได้ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะเป็นผู้ให้คำแนะนำต่อไป