สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
Responsive image

กทม. ร่วมกับ สปคม. เตรียมขับเคลื่อน ศูนย์ความปลอดภัยทางถนน ที่เป็นรูปธรรมครั้งใหญ่ หลังจากประกาศระเบียบสำนักนายก ปี 2554

กทม. ร่วมกับ สปคม. เตรียมขับเคลื่อน ศูนย์ความปลอดภัยทางถนน ที่เป็นรูปธรรมครั้งใหญ่ หลังจากประกาศระเบียบสำนักนายก ปี 2554

   
   

    วันนี้ (22 พฤษภาคม 2562) ณ ห้องประชุมคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

...นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายในการขับเคลื่อนกลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ระดับเขต ไปสู่ผลลัพธ์ ระหว่างวันที่ 22 - 24 พฤษภาคม 2562 ร่วมกับภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและปัญหาสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุจราจร รวมทั้งการชี้เป้าหมายในระดับชุมชน

...ท่านรองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เป็นแกนหลักให้การสนับสนุน การพัฒนาศักยภาพกำลังคนให้กับทางกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ขับเคลื่อน ศปถ. ในทุกระดับ

ซึ่งทางนายแพทย์เอนก มุ่งอ้อมกลาง ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขเมือง(สปคม.) กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อก่อให้การขับเคลื่อนงานป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจร และ ลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บ และเสียชีวิตลง ผ่านกลไกของ ศปถ. กรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญหลังจากประกาศสำนักนายก ปี 2554 ให้มี ศปถ.สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมครั้งแรกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

...การประชุม ได้รับเกียรติจากวิทยากรนายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน, ดร.นรบดี สาละธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน สำนักตรวจสอบความปลอดภัยงานทาง กรมทางหลวงชนบท และนางศรินทร สนธิศิริกฤตย์ รองผู้อํานวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง โดยการประชุมประกอบด้วย การบรรยายและแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ

....ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย พหุภาคีเครือข่ายผู้รับผิดชอบงาน อุบัติเหตุจากสำนักงานเขต สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ สำนักพัฒนาสังคม สำนักการโยธา สำนักการจราจรและขนส่ง, สถาบันเทคโนโลยีประจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กองบัญชาการตำรวจนครบาล 3, โรงพยาบาลเอกชน,บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด, มูลนิธิกู้ชีพ และ เครือข่ายภาคประชาชนใน 2 เขต คือ เขตมีนบุรีและเขตลาดกระบัง และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง รวม 70 คน เพื่อมาตราการ ดังนี้

1. มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง

  • ด้านคน ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจังและต่อเนื่อง 
  • ด้านสังคมและชุมชน 
  • ด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน

2. มาตรการองค์กรของหน่วยงานภาครัฐ

3. มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสิ่งแวดล้อม

4. มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ

5. มาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ


ข่าวสารอื่นๆ