Fall Facts : Older Adult Fall Prevention in Thailandts
พลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในประเทศไทย
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 3 ล้านคน (หรือ 1 ใน 3 ของประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งประเทศ) เกิดการหกล้มทุกปี การล้มเพียงครั้งเดียวสามารถทำให้มีความเสี่ยงที่จะล้มอีกครั้ง
สิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุ หลังจากพลัดตกหกล้ม
แม้การพลัดตกหกล้มไม่ได้เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บทั้งหมด แต่กว่าครึ่งของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเกิดการบาดเจ็บรุนแรง (ต้องพักเข้ารักษาในโรงพยาบาล) นำมาซึ่งการขาดอิสระภาพในการดำรงชีวิต ทุพลภาพ พิการ ภาวะติดเตียง ตามมาได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้พลัดตกหกล้ม
ระบบโครงร่าง ระบบกล้ามเนื้อส่วนล่างของร่างกายไม่แข็งแรง
การขาดวิตามินดี
มีการเดินและการทรงตัวลำบาก
ใช้ยาที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงหกล้ม
มีปัญหาในการมองเห็น
มีการบาดเจ็บที่เท้า ปวดเท้า รวมถึงรองเท้าที่ไม่มีความเหมาะสม
บ้าน ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้มไม่ปลอดภัย
การหกล้มสามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ยิ่งมีความเสี่ยงในตัวบุคคล ความเสี่ยงในการหกล้มยิ่งมีมากขึ้น
บุคลากรสาธารณสุขสามารถลดปัจจัยเสี่ยงหกล้มได้ดังที่กล่าวมาข้างต้น
พลัดตกหกล้มสามารถป้องกันได้ ต่อไปนี้จะเป็นบางตัวอย่างที่ท่านสามารถทำได้ เพื่อให้ท่านได้ห่างไกลจากพลัดตกหกล้ม
เล่าให้หมอฟัง
ออกกำลังกาย เสริมสร้างความแข็งแรง และการทรงตัว
ตรวจตา
ทำบ้านให้ปลอดภัย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กลุ่มป้องกันการบาดเจ็บจากพลัดตกหกล้ม | กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค
ที่อยู่ 88/21 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
+662 590 3955 | [email protected]
YouTube: Fall Prevention DDC | Facebook: กองป้องกันการบาดเจ็บ