สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ
Responsive image

รายงานกรณีแรกของการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในคนจากการสัมผัสกับวัวนม รัฐเท็กซัส, สหรัฐอเมริกา  ณ วันที่ 1 เม.ย. 2567

รายงานกรณีแรกของการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในคนจากการสัมผัสกับวัวนม รัฐเท็กซัส, สหรัฐอเมริกา 
ณ วันที่ 1 เม.ย. 2567

แหล่งข้อมูล: BlueDot ภายใต้ ASEAN Health Cluster 2
ถอดความโดย: สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค

ข้อมูลทางระบาดวิทยา:
- ผู้ป่วยมีอาการตาอักเสบและได้รับการทดสอบตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ต่อมาศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ CDC ยืนยันการวินิจฉัยตรวจพบเชื้อไข้หวัดนก H5N1 ระบุว่าผู้ป่วยรายดังกล่าวมีประวัติสัมผัสกับวัวนมที่สงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนกเมื่อไม่นานมานี้ ขณะนี้ผู้ป่วยได้รับการกักตัวและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส oseltamivir 
- ซึ่งในสหรัฐฯ มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดนกครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2022 ในรัฐโคโลราโด และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ

ข้อมูลการระบาดในสัตว์:
รัฐเท็กซัสเป็นหนึ่งในหลายรัฐของสหรัฐที่มีการตรวจยืนยันเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในวัวนมเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คาดว่า การตรวจจับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในคนในครั้งนี้เกิดจากการควบคุมการระบาดและความเข้มข้นของการเฝ้าระวังโรคที่มากขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในวัวนมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 

มาตรการที่ดำเนินการ:
- กรมบริการสุขภาพของรัฐเท็กซัส (DSHS) และ CDC ของสหรัฐ ออกแจ้งเตือนโรคไข้หวัดนก โดยกระตุ้นให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพิ่มการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ที่สงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนกในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 
- DSHS ดำเนินการร่วมฟาร์มวัวนมในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการลดการสัมผัสเชื้อในกลุ่มคนงาน เพิ่มมาตราการเฝ้าระวังในคนที่มีอาชีพเสี่ยง และตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทันทีหากพบผู้มีอาการสงสัย 
- ล่าสุดทาง CDC ได้ออกคำแนะนำในการป้องกัน การตรวจจับ และมาตรการควบคุมสำหรับเชื้อไข้หวัด A(H5N1) ในคน โดยเน้นการเฝ้าระวังผู้ที่มีอาการทางเดินหายใจและตาอักเสบเป็นเวลา 10 วันหากมีการสัมผัสกับสัตว์ปีกหรือสัตว์อื่นที่ติดเชื้อ

การประเมินความเสี่ยง
- ระดับต่ำ: สถานการณ์ดังกล่าวน่าจะถูกจำกัดอยู่ในพื้นที่ในสหรัฐฯ 
- ระดับปานกลาง: ในกลุ่มบุคลากรที่มีการสัมผัสอาชีพกับสัตว์ที่ติดเชื้อและสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อน

ประเด็นน่าสนใจ
โรคไข้หวัดนก H5N1 เป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ อีกทั้งยังมีโอกาสทำให้เกิดการระบาดใหญ่หลายทวีป ซึ่งการตรวจพบเชื้อดังกล่าวในวัวนมครั้งนี้ แสดงถึงความเสี่ยงต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาคเกษตรกรรม และนำไปสู่ของการติดโรคในคนซึ่งพบแล้วในรายล่าสุดนี้ จึงจำเป็นต้องจับตาดูวิวัฒนาการของเชื้อที่อาจพัฒนาไปสู่การติดต่อจากคนสู่คน


ข่าวสารอื่นๆ