สถาบันบำราศนราดูร
Responsive image

งานบริการของหน่วยงาน

การให้บริการ

โดยพยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (ICN) มีหน้าที่ในการพยาบาลผู้ป่วยในด้านโรคติดเชื้อ มีความรับผิดชอบการให้คำแนะนำผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ในเรื่องโรคติดเชื้อ โดยประยุกต์หลักการและแนวคิดใหม่ๆ วิธีการที่ใช้เทคนิควิชาชีพการพยาบาล รวมทั้งพิจารณาแนวคิดและข้อเท็จจริงที่มีประเด็นการพิจารณาหลากหลาย เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งมีการสำรวจ วิเคราะห์หาปริมาณความต้องการทางการพยาบาลผู้ป่วย ในโรคที่อาจเกิดการแพร่กระจายเชื้ออย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังต้องติดตามสถานการณ์ทางการพยาบาลผู้ป่วยในทุกด้าน เพื่อให้ทราบแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง สำหรับใช้ในการวางแผนงานติดตามควบคุม กำกับ และประเมินผลการให้การบริการพยาบาลผู้ป่วย ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเกี่ยวกับการหากลยุทธ์ ในการให้การพยาบาลใหม่ๆ และระบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ตลอดจนการนิเทศและพัฒนางานวิชาการพยาบาลสาขางานการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ แก่ผู้ปฏิบัติงานระดับรองลงมา ตลอดจนร่วมในการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานการให้บริการ

1.ด้านปฏิบัติการพยาบาล/ งานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Operation/Expertise)

ใช้ความรู้ความชำนาญด้านโรคติดเชื้อ ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา โดยใช้ทักษะการประเมินและสังเคราะห์ เพื่อวางแผนการให้การพยาบาล แบบองค์รวม ให้บรรลุเป้าหมาย จัดการประสานความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พยาบาลในการปฏิบัติ เชิงวิชาชีพที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

  1. ใช้ความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและผลงานวิจัยประสานความชำนาญทางคลินิก และการใช้ทักษะขั้นสูงในการสังเคราะห์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ ในการวินิจฉัยทางการพยาบาล และจัดการเกี่ยวกับปัญหาด้านโรติดเชื้อของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมปัญหาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
  2. ประสานความร่วมมือกับพยาบาลประจำหอผู้ป่วย แพทย์ บุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมปรึกษาหารือในการวางแผนให้การดูแลและประเมินผลการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่มีปัญหาซับซ้อน
  3. วางแผนจำหน่าย (Discharge Planning) ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านโรคติดเชื้อ รวมทั้งปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ บางครั้งต้องติดตามควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการตามแผนการจำหน่าย หรือส่งต่อ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลและพื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับ ผู้ป่วย บุคลากรในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
  4. ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจารณ์ผลการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย หรือกระบวนการต่างๆ ที่พัฒนาบริการพยาบาลทั้งหมดในหน่วยงานและทุกหน่วยงานในด้านโรคติดเชื้อ เพื่อนำมาสรุปเป็นภาพรวมของงานการพยาบาลผู้ป่วยหนักและแปรผลให้กับผู้บริหารทางการพยาบาลในระดับสูงให้ทราบสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และเพื่อปรับกลวิธีในการดำเนินการ
  5. ทำงานร่วมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  6. 1.6 เฝ้าระวังอันตรายและภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นหรือภาวะวิกฤตของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถคาดการณ์ปัญหาจากอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยและวางแผนป้องกันแก้ไขได้อย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์
  7. ช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินหรือเร่งด่วนให้ได้รับความปลอดภัย
  8. ติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย ครอบครัวหรือผู้ดูแลที่บ้านเพื่อให้คำแนะนำ ตอบข้อสงสัยและเป็นสื่อกลางในการติดต่อกับแพทย์หรือทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
  9. เป็นผู้นำในการนำกระบวนการพัฒนาการบริการพยาบาลด้านโรคติดเชื้อใหม่ๆ หรือนำแนวคิดหรือทฤษฎีทางการพยาบาล และหรือแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการบริการพยาบาล ในระดับบุคคล ครอบครัว เพื่อพัฒนาการให้การบริการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  10. กำหนดมาตรฐาน / แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยด้านโรคติดเชื้อ
  11. ร่วมมือในการสร้างและการใช้เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินคุณภาพ และผลลัพธ์ของการพยาบาลในสาขาการพยาบาลผู้ป่วย เพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถาบันบำราศนราดูร
  12. ควบคุมมาตรฐานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ด้วยกระบวนการที่บ่งบอกว่าสามารถเป็นการประกันคุณภาพของการพยาบาลได้ เช่น การกำหนดมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และจัดทำนโยบายและแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
  13. นิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือเป็นประจำสม่ำเสมอในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อหรือมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของการบริการพยาบาล มีการค้นหา ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งต้องการการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

2. ด้านการบริหารจัดการ

ปฏิบัติหน้าที่ด้านโรคติดเชื้ออันจะส่งผลให้ระบบงานบริการการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่มีคุณภาพ และคุ้มค่ามีความสามารถในการพัฒนาจัดการและกำกับระบบดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ(Care Management) ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

  1. ประเมิน คัดกรอง เฝ้าระวังและวินิจฉัยการติดเชื้อในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ ทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน
  2. ดำเนินการให้มีระบบบริหารจัดการข้อมูล ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การจัดทำฐานข้อมูล การวิเคราะห์ การรายงาน และการใช้ประโยชน์ข้อมูลการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
  3. ร่วมกับทีมสุขภาพในการสอบสวนการระบาดของโรคและดำเนินมาตรการในป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ
  4. สร้างทีมการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อที่ซับซ้อนและเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ 2.5
  5. .ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบสุขภาพและดูแลสิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยควรจะได้รับ 2.6.
  6. สร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อและกลุ่มเป้าหมายที่รับผิดชอบเพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพ

3 ด้านการให้ความรู้

มีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมความรู้ให้แก่บุคลากรทางการพยาบาล ในสาขาการพยาบาลผู้ป่วยเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และผู้ใช้บริการตามปัญหาและความต้องการ ประสานงานและให้ความช่วยเหลือ ในการจัดโครงการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาในการสอน / ให้คำแนะนำผู้ป่วย และครอบครัว รวมทั้งให้ความร่วมมือในการสอน / นิเทศนักศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ และเป็นพี่เลี้ยงให้แก่พยาบาล และนักศึกษาพยาบาล ในสาขาการพยาบาลผู้ป่วยเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มีความสามารถในการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowering) การสอน (educating) การฝึก (coaching) การเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติ (mentoring) ดังนี้

  1. สอนและร่วมมือในการจัดเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลและนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ
  2. วางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูความรู้ ทัศนคติและทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อแก่บุคลากรทางการพยาบาลและประชาชน ตามปัญหาและความต้องการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาการระบาดของพื้นที่และประเทศเพื่อให้มีความพร้อมในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อทั้งโรคอุบัติซ้ำและโรคอุบัติใหม่
  3. สอน ให้คำแนะนำและเป็นพี่เลี้ยงแก่พยาบาล นักศึกษาพยาบาล และนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ให้มีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและป้องกันการติดเชื้อ
  4. สอนเทคนิค วิธีการพยาบาล หรือการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีขั้นสูงต่าง ๆ ที่ใช้กับผู้ป่วย ในสาขาการพยาบาลผู้ป่วยเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อแก่บุคลากรทางการพยาบาลเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย
  5. ร่วมจัดโครงการฝึกอบรม หรือฝึกทักษะ เช่น การปฏิบัติตามหลัก Isolation Precautions ฯลฯ ที่จำเป็นให้แก่บุคลากรทางการพยาบาลในสาขาการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ หรือผู้เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันฯ กลุ่มงาน และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
  6. ร่วมมือในการปฐมนิเทศ แก่พยาบาลที่เข้าใหม่เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และแนวทางนโยบายการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของสถาบันฯ

4 ด้านการเป็นที่ปรึกษา (Consultation)

เป็นแหล่งประโยชน์ด้านการเป็นที่ปรึกษาแก่ทีมสุขภาพ และผู้ใช้บริการโดยใช้ความชำนาญทางคลินิก ในการแก้ไขปัญหาให้บรรลุเป้าหมายของการให้บริการสุขภาพ โดยเฉพาะเป็นที่ปรึกษาแก่บุคลากรทางการพยาบาลในการพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อ

  1. เป็นที่ปรึกษา/ให้คำปรึกษาแก่บุคลากรทางการพยาบาล ผู้ป่วยและญาติในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการติดเชื้อทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน
  2. เป็นที่ปรึกษาให้กับพยาบาลและทีมสุขภาพในการจัดการและการแก้ปัญหาผู้ป่วยโรคติดเชื้อที่มีปัญหาซับซ้อน โดยอาศัยข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา
  3. เป็นที่ปรึกษาให้กับพยาบาลและทีมสุขภาพในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติทางการพยาบาล
  4. วางแผนและเข้าร่วมในการประชุมปรึกษาหารือ หรือตรวจเยี่ยมผู้ป่วยกับพยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพ

5 ด้านการประสานงาน (Communication and Cooperation)

มีความสามารถในการประสานงาน (Collaboration) โดยที่

  1. ประสานความร่วมมือกับพยาบาล แพทย์ บุคลากรในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องเพื่อการประเมินสิ่งแวดล้อม ภาวะคุกคามและภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมทั้งการวางแผน และการจัดการกับภาวะเสี่ยง/ภาวะคุกคามเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ผู้รับบริการและบุคลากร
  2. ประสานเครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพยาบาลผู้ป่วย โรคติดเชื้อและการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน
  3. จัดให้มีระบบการดูแลสุขภาพบุคลากร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน เช่น การสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่บุคลากร การสนับสนุนอุปกรณ์จำเป็นตามมาตรการ การป้องกัน และการควบคุมการติดเชื้อเพื่อให้บุคลากรมีความปลอดภัยในการทำงาน
  4. ประสานความร่วมมือกับครอบครัวของผู้ป่วยโรคติดเชื้อ พยาบาลชุมชน และแหล่งประโยชน์ในชุมชน ในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย

6 ด้านการบริการ (Service)

ใช้ความรู้ความชำนาญ ในการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่เฉพาะกลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน (Direct Care) โดยใช้ทักษะการประเมินและสังเคราะห์สิ่งที่ได้จากการประเมินเพื่อวางแผนการให้การพยาบาล แบบองค์ ใช้มาตรฐานการควบคุมคุณภาพของการพยาบาล ให้บรรลุเป้าหมาย จัดการประสานความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พยาบาลในการปฏิบัติเชิงวิชาชีพอีกทั้งมีความสามารถในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice) และสามารถให้เหตุผลทางจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม (Ethical reasoning and ethical decision making) ที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

  1. บูรณาการความรู้ทางพยาธิสรีระวิทยาโรคติดเชื้อศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและหลักฐานเชิงประจักษ์ประสานความชำนาญทางคลินิก โดยการใชัทักษะในการสังเคราะห์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ วินิจฉัยทางการพยาบาล และจัดการเกี่ยวกับปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อนหรือวิกฤตของผู้ป่วยและในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรง ผู้ป่วยด้วยโรคซับซ้อน ผู้ป่วยภาวะวิกฤตอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมปัญหาทางด้านร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ
  2. วินิจฉัยปัญหาผู้ป่วย โดยใช้หลักฐานทางคลินิก ความรู้ทางจุลชีววิทยา พยาธิสรีระวิทยาโรคติดเชื้อ และประสบการณ์ทางคลินิก
  3. ให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อที่มีปัญหาซับซ้อนรุนแรงโดยใช้ความรู้ทางทฤษฎี หลักฐานเชิงประจักษ์และเหตุผลทางคลินิกในการตัดสินใจให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมและปลอดภัย
  4. เฝ้าระวังและจัดการเกี่ยวกับภาวะเสี่ยงและภาวะคุกคามต่อสุขภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
  5. คาดการณ์ปัญหาที่ซับซ้อนจากโรคติดเชื้อที่อาจส่งผลต่ออาการและการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยโดยวางแผนป้องกันและแก้ไขได้อย่างถูกต้องและทันเวลา
  6. ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อที่มีปัญหาซับซ้อนรุนแรง
  7. ประสานความร่วมมือกับพยาบาล แพทย์ บุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมปรึกษาหารือในการวางแผน ให้การดูแลและประเมินผลการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่มีปัญหาซับซ้อนหรือวิกฤตที่ต่อเนื่องวางแผนจำหน่าย (Discharge Planning) ผู้ป่วยหนักที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อนรวมทั้งปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ในบางครั้งต้องติดตามควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการตามแผนการจำหน่ายผู้ป่วยหนักที่ออกจากหน่วยงาน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลและฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่องโดยร่วมมือกับผู้ป่วย บุคลากรในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
  8. ทำงานร่วมกับบุคลากรทางสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยการมีอิสระทางด้านความคิด อย่างมีวิจารณญาณในการตัดสินใจให้บริการในขอบเขตของการพยาบาลด้านโรคติดเชื้อ รวมถึงมีศักยภาพในการควบคุมการปฏิบัติงานของตนเองและรับผิดชอบกับผลลัพธ์ที่ตามมา
  9. กำหนดมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเพื่อการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลและการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเกณฑ์การจำแนกประเภทผู้ป่วย และแนวทางการให้การพยาบาลที่ยุ่งยาก ซับซ้อนร่วมมือในการสร้างและการใช้เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินคุณภาพ และผลลัพธ์ของการพยาบาลในสาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
  10. ควบคุมมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ด้วยกระบวนการที่บ่งบอกว่าสามารถประกันคุณภาพของการพยาบาลได้ เช่น การกำหนดมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ การจัดทำนโยบายและแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่สอดใส่สายสวนต่างๆ
  11. นิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือเป็นประจำสม่ำเสมอในการพยาบาลผู้ป่วย เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของการบริการพยาบาล ในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
  12. ดำเนินการให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณภาพและคุ้มค่า
  13. พัฒนาแนวปฏิบัติและ/หรือมาตรฐานการปฏิบัติในพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ประเมินผลและปรับปรุงแนวปฏิบัติ /มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  14. พัฒนานวัตกรรมด้านการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมป้องกันการติดเชื้อทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน
  15. พัฒนาองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพการพยาบาลด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อรวมทั้งประยุกต์ผลการวิจัยในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน
  16. เผยแพร่แนวปฏิบัติการพยาบาลที่มาจากหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาการพยาบาลเดียวกัน
  17. มีส่วนร่วมในการควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและผลลัพธ์ด้านจริยธรรมทางการพยาบาลในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  18. เป็นตัวแทนผู้ปฏิบัติการพยาบาลด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ เพื่อกำหนดนโยบายเสนอแนะมาตรการ/แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุม การติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน โดยการเป็นคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในหน่วยงาน

7. ด้านการจัดการและประเมินผลลัพธ์ (Outcome management and evaluation)

  1. กำหนดผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์สำหรับความสำเร็จทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ
  2. พัฒนาหรือเลือกใช้เครื่องมือวัดผลลัพธ์ และวิธีการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อสำหรับใช้ในหน่วยงาน
  3. ดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดทางการพยาบาลสำหรับกลุ่มเป้าหมายในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
  4. วิเคราะห์ผลเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงประเมินผล
  5. นำผลการวิเคราะห์ผลลัพธ์มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
  6. จัดทำฐานข้อมูลด้านผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยผู้ใหญ่เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะโรคในหน่วยงานเพื่อใช้ติดตามและเปรียบเทียบผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
  7. เผยแพร่วิธีการปฏิบัติและผลลัพธ์การปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติและผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ